“ธารน้ำแข็ง” หมายถึง มวลน้ำแข็งตามธรรมชาติที่สะสมมาเป็นเวลานานบริเวณขั้วโลกหรือภูเขาสูง สามารถเคลื่อนตัวไปตามพื้นผิวดิน จุดสำรวจแห่งแรกของภารกิจครั้งนี้คือ ธารน้ำแข็งเหรินหลงปา (Renlongba Glacier) ในเมืองชัมโต (Qamdo City) เขตปกครองตนเองซีจ้าง
.
หวาง ชานชาน (Wang Shanshan) วิศวกรอาวุโส ศูนย์สำรวจธรณีฟิสิกส์ทางอากาศฯ อธิบายว่า ธารน้ำแข็งทางทะเล หรือ ธารน้ำแข็งอุ่น (Temperate or Warm Glaciers) มีอุณหภูมิน้ำแข็งที่สูงกว่า และมีลักษณะเฉพาะ คือ สามารถแข็งตัวและละลายได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังแสดงการเคลื่อนตัวอย่างชัดเจน
.
ธารน้ำแข็งประเภทนี้ได้รับอิทธิพลจากภูมิอากาศที่แปรปรวนและภูมิประเทศที่ซับซ้อน ทำให้การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งเรื่องความสูงจากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิที่ต่ำ และพื้นที่กว้างใหญ่ ซึ่งต้องเก็บข้อมูลทั้งจากดาวเทียม การสำรวจทางอากาศ และภาคพื้นดิน
เพื่อสร้างแผนที่แสดงขอบเขต ความหนา และการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งทางทะเล ซึ่งจะนำไปสู่การคำนวณปริมาณน้ำแข็งได้อย่างแม่นยำ
.
ธารน้ำแข็งทางทะเลถือเป็นเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมวัฏจักรน้ำและความสมดุลของภูมิอากาศโลก การสำรวจธารน้ำแข็งจึงเป็นการเปิดประตูสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก
.
คลิปจาก China Media Group
จีนเริ่มสำรวจธารน้ำแข็งทางทะเลจากทางอากาศเป็นครั้งแรก ในเขตปกครองตนเองซีจ้าง มีจุดประสงค์พื่อศึกษารูปแบบการก่อตัวและการละลายของธารน้ำแข็ง และจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากร
ข่าวที่น่าสนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง