ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น

ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น

ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

9 พ.ค.2568 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรรม “ผู้ว่าการพบสื่อมวลชน (Meet the Press) ครั้งที่ 1/68” ณ หน้าห้องภัทรรวมใจ อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห้งประเทศไทย สำนักงานใหญ่

ดร. เศรษฐพุฒิ ระบุว่า ถึงผลกระทบเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีของสหรัฐว่า ผลกระทบเกี่ยวกับมาตรการภาษีได้สร้างความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูงมาก และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ชัดเจน จึงทำให้การคาดการณ์ของธปท. ในเรื่องนี้ มีฉากทัศน์ 2 ด้าน ประกอบด้วย ระยะเวลาของผลกระทบจะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะขึ้นอยู่กับการเจรจาไทย-สหรัฐ ว่าจะมีผลออกมาอย่างไร แต่เชื่อว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในระยะยาวกินเวลานาน แต่จะไม่หนักเท่ากับช่วงโควิด-19 และช่วงวิกฤติปี 40

“เชื่อว่า ประเทศไทย จะสามารถผ่านสถานการณ์การตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐไปได้ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่เป็นวิกฤต เมื่อเทียบกับ ช่วงโควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจปี 40“

 

โดยขณะนี้ เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวของการลงทุน แต่คาดว่า จุดต่ำสุดของเศรษฐกิจก่อนที่จะฟื้นตัวจะเกิดขึ้นหลังไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และหากไม่มีการปรับตัวเศรษฐกิจที่ฟื้นขึ้นมาก็จะต่ำกว่าระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนผลกระทบจะหนักแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจา

ทั้งนี้ ธปท. มองว่า กลุ่มที่จะได้ผลกระทบหนักที่สุดในครั้งนี้ คือกลุ่มผู้ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูป เครื่องจักร / กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และในกลุ่มซัพพลายเชนของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยมองว่า กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากสินค้าต่างประเทศทะลักเข้ามาในประเทศไทย

ทั้งนี้ ไทย ควรมีความจริงจังที่จะใช้มาตรการทางการค้า เพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าต่างประเทศ ที่ไม่สามารถส่งไปสหรัฐได้ เพราะการทะลักเข้ามาจะกระทบกับธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีความเสี่ยงว่าจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน โดยมาตรการทางการค้าที่ควรใช้ เช่น มาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาด และการตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าอย่างเข้มงวด

ดร. เศรษฐพุฒิ ระบุว่า สิ่งที่ ธปท. ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา คือ การดำเนินโยบายการเงินที่ กนง. ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 2 ครั้งในปีนี้ เพื่อรองรับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยมองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันถือเป็นระดับที่เหมาะสม กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้แล้ว แต่ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ประชุมในครั้งก่อนก็พร้อมจะลดดอกเบี้ยเพิ่ม ซึ่งการลดดอกเบี้ยต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหลืออยู่มีอยู่อย่างจำกัด

นอกจากนี้ ธปท. ได้ดูแลตลาดการเงิน ไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป โดยได้เข้าไปดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปในช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่ได้มีการกำหนดค่าเงินบาทที่เหมาะสมในใจ โดยจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และเน้นดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป จนภาคธุรกิจปรับตัวไม่ได้ ยอมรับว่า ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 2 ปัจจัย คือ ดอลล่าร์อ่อนค่า และราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ ธปท. ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยดูแลลูกหนี้ โดยการออกมาตรการ “คุณสู้เราช่วย ” ซึ่งเริ่มมีลูกหนี้เข้ามาร่วมโครงการมากขึ้น พร้อมปฏิเสธว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากเกณฑ์ของแบงค์ชาติในเรื่องการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรม หรือ RL เป็นเพียงข้ออ้างของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น และปัจจัยหลักที่จะทำให้ลูกค้าได้รับสินเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงทางด้านเครดิตของลูกค้ามากกว่า

ส่วนมาตรการเพื่อรองรับและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น รัฐบาลควรออกเป็นมาตรการที่เฉพาะเจาะจง เฉพาะภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจริงๆ เช่น การจัดสินเชื่อผ่อนปรน หรือ soft loan โดยควรจะเน้นเฉพาะภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้ให้เป็นการทั่วไปเหมือนช่วงโควิด-19

ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มองว่า รัฐบาลควรทบทวนการเดินหน้าโครงการในเฟสที่เหลือ เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนและมีความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้า และภาษี โดยรัฐบาลควรเน้นการลงทุน และปรับโครงสร้างของประเทศ เช่น ปรับหลักเกณฑ์การทำธุรกิจให้ง่ายต่อการลงทุน เพื่อดึงดูดนักลงทุนไม่ให้มีการย้านฐานการผลิต

“ การกระตุ้นการบริโภค จะต้องพิจารณาว่า จะช่วยเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งความกังวลเรื่องของสินค้าที่จะทะลักเข้าไทย หากมีการกระตุ้นการบริโภค อาจจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศอื่นๆแทน”

ส่วนกรณีการจัดตั้งเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ ผู้ว่าแบงก์ชาติ มองว่า ยังไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนในการจัดตั้งเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ เนื่องจากขณะนี้โลกมีความไม่แน่นอนสูงซึ่งควรให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่ขาวสะอาด มากกว่าที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับธุรกิจสีเทา ควรจะหันไปส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวจากการตั้งศูนย์กลางเพื่อสุขภาพ เช่น Wellness Center ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวบ้าน ฮือฮา เศรษฐีใจบุญ ถวายที่ดินมูลค่ากว่า 40 ล้าน สร้างองค์พระใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
“นายกเบี้ยว” ประกาศ “ภรรยา” คว้าชัยชนะนายกเทศมนตรีตำบลธัญบุรี “ลูกพีช” ได้เป็นสท.
“กกต.” แถลงปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล พบฉีกบัตร 5 จังหวัด รวม 6 ราย เตรียมประกาศผลอย่างเป็นทางการภายใน 30 วัน
"ลูกสส.คนดัง" สงขลา สั่งสมุนรุมทำร้ายตำรวจ ไม่พอใจถูกห้ามถ่ายรูปในหน่วยเลือกตั้ง
ยะลาคึกคัก จัดพิธี "เวียนเทียน" เที่ยงวัน เนื่องในวันวิสาขบูชา คุมเข้มความปลอดภัยพุทธศาสนิกชน
"รอยตุ๊" โพสต์ขอร้อง "ชัชชาติ" อย่าลงสมัครผู้ว่าฯกทม.อีกสมัย คอมเมนต์เห็นด้วยพรึ่บ
"โฆษกภูมิใจไทย" ปฎิเสธข่าว คว่ำร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 69 ชี้ไม่มีเหตุไม่สนับสนุน กม.เป็นประโยชน์พัฒนาประเทศ
รวบ “เจ๊เจี๊ยบ” หลอกคนไทยไปทำงานต่างประเทศ ผู้เสียหายนับร้อย เสียหายกว่า 30 ล้านบาท
"กรมโยธาฯ" แจง 3 ข้อ ปมเหตุก่อสร้างซุ้มประตูเมือง จ.อุดรธานี ล่าช้า
โฆษกเพื่อไทย สยบลือ ร้องหยุดโจมตี "ภูมิใจไทย" พร้อมคว่ำงบฯ 69 ตอบโต้คดีฮั้วสว. ยันพรรคร่วมฯทำงานปกติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น