No data was found

เจษฎ์ เห็นต่างวิษณุ มั่นใจ นายกฯ มีอำนาจยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความแก้รธน.

กดติดตาม TOP NEWS

กรุงเทพฯ 6 ต.ค.- "เจษฎ์” ชี้ นายกฯ มีอำนาจยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความแก้รธน. เหตุหลายมาตราเชื่อมโยงกัน แต่ไม่ทำเอง หลัง “วิษณุ” บอกนายกฯไม่มีอำนาจ ย้ำจุดยืนข้อบังคับรัฐสภา 124 แก้รธน.ทั้งฉบับไม่ได้ ระบุแนวโน้มสูงพ.ร.ป.ขัดรัฐธรรมนูญอีกรอบ เชื่อประชาชนลุกขึ้นต่อสู้

นายเจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการทางกฎหมาย และอดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุนายกฯ ไม่มีอำนาจยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 148 เพราะมาตราดังกล่าวเป็นการยื่นตีความพระราชบัญญัติ ไม่ได้ใช้กับการยื่นตีความร่างแก้รัฐธรรมนูญว่า ตนคิดว่าไม่น่าจะใช่ เพราะกฎหมายมีความเชื่อมโยงกันทั้งมาตรา 256 (7) มาตรา 81 มาตรา 145 จนถึงมาตรา 148 แต่เมื่อระยะเวลาเลยมาครบกำหนดแล้ว ไม่มีส.ส.หรือส.ว.ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทางนายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน จากนี้ก็ต้องไปรอดูการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกครั้ง ซึ่งการแก้ไขตรงนั้นก็อาจขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมาก็ได้ เพราะอาจไปเขียนเกินจากที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญก็ได้ โดยแนวโน้มความเป็นไปได้สูงที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะขัดรัฐธรรมนูญ ตนมองว่าการดำเนินการที่ผ่านมาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ ขัดรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้นที่มีการนำข้อบังคับรัฐสภาข้อที่ 124 มาใช้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะไปนำข้อบังคับรัฐสภามาแก้ไขแบบนี้หรือแบบนั้นไม่ได้ มีแต่เพียงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่จะใช้แก้รัฐธรรมนูญเอง

“ผมมองว่ามันผิดมาตั้งแต่ต้น และเรื่องนี้เทียบกันได้กับการปฏิวัติรัฐประหารที่ไม่มีกลไกไปจัดการ โดยเขาใช้วิธีนำบทบัญญติของกฎหมายโดยเป็นกฎหมายที่มิชอบ แต่กลับไม่มีช่องทางดำเนินการโดยชอบของกฎหมายในการจัดการ ช่องนี้คือเปิดให้สำหรับประชาชนทั้งหลาย มันเป็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันแล้วว่าถ้ามีกฎหมายที่มิชอบ ประชาชนต้องลุกขึ้นต่อสู้ จึงเป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญทุกฉบับเปิดช่องให้ประชาชนสามารถชุมนุมได้ตามกฎหมายด้วยความสงบและปราศจากอาวุธ เพราะอาจมีกรณีที่กฎหมายที่ควรจะออกภายใต้ความยินยอมของประชาชนกลับไปทำร้ายและริดรอนสิทธิของประชาชนโดยไม่มีทางอื่นใดที่จะเยียวยา มันจึงเป็นเหตุที่หลายประเทศชุมนุม และประเทศไทยก็มีการชุมนุมหลายครั้ง จึงเป็นช่องที่สามารถดำเนินการได้ แต่คนที่ควรดำเนินการกลับไม่ทำ แล้วบ่อยครั้งก็อ้างกฎหมายว่าไม่ให้ทำ กลายเป็นว่าอำนาจไปอยู่ในมือของผู้แทนฯ ตัวเจ้าของอำนาจหรือตัวการกลับไม่สามารถทำอะไรได้ บ่อยครั้งจึงต้องมีการเรียกร้องสิทธิคืน ไม่ได้แปลว่าใครอยากจะชุมนุมอะไรก็ชุมนุมได้ แต่ถ้ามีเหตุทำให้ประชาชนไม่สามารถทำอะไรได้จริง ๆ บ่อยครั้งเขาจึงต้องเรียกร้องสิทธิคืน” นายเจษฎ์ กล่าว

เมื่อถามว่า กรณีที่นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น นายเจษฎ์ กล่าวว่า เรื่องนี้จะลำบาก เพราะประชาชนต้องอ้างว่าไปละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งตามมาตรา 213 หากศาลพิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญและเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจริง อันนี้ก็จะเป็นช่องทางหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศาลจะพิจารณา เป็นคนละเกมที่ต้องดูกันต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ต๊อบ วุฒินันท์" ซัดจุกอก "โน้ส อุดม" แขวะพ่อสอนรู้จักใช้ชีวิตพอเพียง
"อธิบดีอัยการ" พร้อมช่วยญาติเหยื่อ "ตกท่อเสียชีวิต" ชี้โทษหนักคุก 10 ปี
ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน กาญจนบุรี ต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี ๒๕๖๖
"ธนดล" บุกสนามกอล์ฟไมด้า เมืองกาญฯ เตรียมยึดที่ ส.ป.ก. คืน 139 ไร่
เปิดใจ คนขับรถสองแถว-เรือเช่า แจงปมดราม่า หลังยูทูปเบอร์ญี่ปุ่น ลงคลิปประสบการณ์สุดแย่ที่ไทย
หนุ่มหัวร้อนยิงคนตาย ปมโมโหจอดรถขวางหน้าบ้าน ก่อนหนีหาย 34 ปี สอบสวนกลางตามรวบ
34 ปีไม่เคยเจอ พายุฤดูร้อนกระหน่ำรพ.อุตรดิตถ์ พาคนไข้อพยพวุ่น เครื่องมือแพทย์เสียหายเพียบ
จ่อออกหมายจับเพิ่ม 6 ราย แก๊งตำรวจอุ้มรีดชาวจีน
สุดอาลัย "ญาติ" ทำพิธีเชิญดวงวิญญาณ จุดที่ลุงตกท่อ บรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงร่ำไห้
สาวคัดจมูก-ปวดใบหน้า นึกว่าป่วยเพราะฝุ่น ช็อกหนัก หมอส่องกล้องเจอเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น