“พิพัฒน์” เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยแรงงานไทย เปิดงานวันความปลอดภัยแห่งชาติ’68 ชูวิสัยทัศน์ “Safety Thailand” ลดอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างยั่งยืน

“พิพัฒน์” เดินหน้ายกระดับความปลอดภัยแรงงานไทย เปิดงานวันความปลอดภัยแห่งชาติ’68 ชูวิสัยทัศน์ “Safety Thailand” ลดอุบัติเหตุจากการทำงานอย่างยั่งยืน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 – นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน “วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ” ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 โดยมี นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางบุปผา เรืองสุด รองปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน มีผู้แทนจาก ILO ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน แรงงาน นักเรียน นักศึกษา และเครือข่ายความปลอดภัยทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 300 คน ณ ชั้น 5 ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า “ความปลอดภัยในการทำงานไม่ใช่แค่ข้อบังคับทางกฎหมาย แต่คือหลักประกันพื้นฐานของชีวิตแรงงานไทยทุกคน” พร้อมย้ำว่าในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลและ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น การพัฒนาทักษะแรงงานต้องเดินคู่กับการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในทุกสถานประกอบการ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินนโยบาย “Safety Thailand” อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ปลุกจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกจังหวัด โดยตั้งเป้าลดอุบัติเหตุร้ายแรงจากการทำงานเหลือไม่เกิน 1 ต่อ 1,000 คน และลดการเสียชีวิตจากการทำงานเหลือไม่เกิน 3 ต่อ 100,000 คน ภายในปี 2573

 

 

 นายพิพัฒน์ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติและอุบัติเหตุในอนาคต ทั้งจากเครื่องจักรในไซต์งาน ไปจนถึงภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวและอุทกภัย โดยระบุว่า “การฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอและการมีระบบรับมือที่ชัดเจน จะช่วยลดความสูญเสียได้มากกว่าการรอให้เกิดเหตุการณ์”

นายพิพัฒน์ กล่าวต่อถึงกรณีการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งจากการก่อสร้างบนท้องถนน กระทรวงแรงงานให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ถนนพระราม 2 ที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดประชุมเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมา และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย เพื่อกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยร่วมกัน เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา พร้อมได้แต่งตั้ง “คณะทำงานเฉพาะกิจด้านความปลอดภัยแรงงานเพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังโครงการก่อสร้างเสี่ยงสูงอย่างใกล้ชิด จึงได้กำชับให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎเหล็ก 5 ข้อ (5 Golden Rules) อย่างเคร่งครัด กฎเหล็ก 5 ข้อ ความปลอดภัยงานก่อสร้าง (Safe Cons. Together) ได้แก่ 1. กำหนดเขตก่อสร้าง–เขตอันตรายให้ชัดเจน 2. โครงสร้างต้องออกแบบได้มาตรฐาน 3. ตรวจสอบเครื่องจักรหนักตามหลักวิศวกรรม 4. ผู้ควบคุมงาน–ผู้อนุมัติต้องรับผิดชอบชัดเจน 5. แรงงานต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันครบถ้วน

“การบาดเจ็บอาจแก้ไขได้ แต่การสูญเสียคือ สิ่งที่เราไม่มีวันได้กลับคืน กระทรวงแรงงานจะทำทุกทางเพื่อให้แรงงานไทยกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยทุกวัน” นายพิพัฒน์ กล่าวปิดท้าย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภ.เมืองพัทยานำร่องภาค 2 อัพสกิลพัฒนาระบบวิเคราะห์อาชญากรรมแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
สธ.แจงสถานการณ์ "โควิด" ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะกลุ่มเสี่ยงดูแลสุขภาพ ไม่ประมาท หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
"พิชิต" ขยี้ซ้ำ 5 คนนี้ว่าอย่างไร "แพทยสภา" ชี้ "ทักษิณ" ไม่ป่วยวิกฤต ซัดนี่คือขบวนการโกหก
"อนุทิน" สั่งผู้ว่าฯ ชายแดนใต้ใช้ 4 แนวทางป้องกันเหตุไม่สงบ
ศาลอาญา ยกคำร้อง "ทักษิณ" ขอบินไปกาตาร์ ชี้เป็นหมายนัดส่วนตัว
"หมอตุลย์" เชื่อศาลฎีกาฯนำมติแพทยสภา "ทักษิณ"ป่วยไม่วิกฤต ประกอบไต่สวน รอดู "สมศักดิ์" วีโต้หรือไม่
"ภูมิธรรม" เชื่อ "ทักษิณ" ไปศาลฎีกาฯ ไต่สวนพ้นคุกก่อนคำพิพากษา มั่นใจผลตัดสินไม่กระทบเสถียรภาพรัฐบาล
"สรวงศ์" ย้ำมติแพทยสภา ปม "ชั้น 14" ไม่กระทบนายกฯ ขออย่าโยงเป็นเรื่องการเมือง
"ฉก.ลาดหญ้า กกล.สุรสีห์" ตรึงกำลังเข้มตลอดแนวชายแดน “บ้านพุน้ำร้อน”
"ผบช.ภ.9" เผยเหตุป่วนใต้เกิดขึ้นถี่ยิบ เค้นสอบ "17 ผู้ต้องสงสัย" ลอบก่อเหตุโหมไฟใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น