“รัฐบาล” ย้ำ “โรคแอนแทรกซ์” ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ขอประชาชนอย่าเป็นกังวล

“รัฐบาล” ย้ำ "โรคแอนแทรกซ์" ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ขอประชาชนอย่าเป็นกังวล

วันนี้ 7 พ.ค.68 ที่ทำเนียบ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากข้อมูลกรมควบคุมโรคระบุว่า “โรคแอนแทรกซ์” (Anthrax) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า Bacillus anthracis สามารถพบได้ทั่วไปในแหล่งตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ ซึ่งสปอร์ของเชื้อมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมทั้งร้อนและเย็น เชื้อยังสามารถก่อให้เกิดโรคได้ แม้เวลาจะผ่านไปหลายสิบปี โดยเฉพาะในดินที่มีซากสัตว์ตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ ทั้งนี้ยังไม่มีข้อมูลการติดต่อจากคนสู่คน ขอประชาชนอย่าเป็นกังวล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอนุกูล กล่าวว่า สำหรับสัตว์พาหะส่วนใหญ่ที่พบ คือ โค กระบือ แพะ แกะ โดยสัตว์ที่ติดเชื้อจะมีอาการ ดังนี้ อาการไข้ ซึม ไม่กินอาหาร เจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุและเสียชีวิต การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น การชำแหละเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ดิบ หรือปรุงไม่สุก การสัมผัสกับหนังสัตว์หรือขนสัตว์ที่มีสปอร์ของเชื้อ

โดยเชื้อสามารถแพร่ได้ 3 ทาง คือ

1.การสัมผัส จากการชำแหละสัตว์ที่ป่วยตายจากโรคแอนแทรกซ์ ผู้ป่วยจะติดเชื้อโดยสปอร์ของเชื้อเข้าสู่บาดแผลและรอยถลอก จะเริ่มมีอาการป่วยหลังสัมผัสโรคประมาณ 1-7 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับตัวโรคและคนที่ได้รับเชื้อ รอยแผลเริ่มจากเป็นตุ่มที่ผิวหนัง ตามมาด้วยตุ่มน้ำใส และแตกออกกลายเป็นแผลหลุมสีดำ คล้ายบุหรี่จี้ หากไม่ได้รับการรักษาจะมีการลุกลามของเชื้อไปยังต่อมน้ำเหลือง และกระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้

2.การรับประทาน หากรับประทานเนื้อสัตว์ที่ป่วยดิบหรือปรุงไม่สุก อาจจะติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีอาการไข้สูง ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คล้ายกับอาการของอาหารเป็นพิษ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา อาจติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้เสียชีวิตได้

3.การหายใจ ซึ่งพบได้น้อยกว่า คือ การหายใจเอาสปอร์ของแอนแทรกซ์เข้าไป โดยเชื้อจะปนเปื้อนอยู่บริเวณที่สัตว์ป่วยหรือเสียชีวิต สามารถฝังตัวอยู่ได้เป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ไอ หายใจลําบาก หน้าเขียวคล้ำ และเสียชีวิตจากอาการของระบบหายใจล้มเหลว

 

นายอนุกูล ระบุว่า “สำหรับการป้องกันโรคแอนแทรกซ์ ขอแนะนำให้ใส่ถุงมือในการชำแหละหรือปรุงเนื้อสัตว์ และล้างมือให้สะอาด ส่วนอาหารควรปรุงให้สุก และควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ และได้มาตรฐาน ทั้งนี้ หากพบอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ เนื่องจากโรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ หรือกรณีสัมผัสและไม่มีอาการป่วย แพทย์จะมีการให้ยาในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรง หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รวบ “เจ๊เจี๊ยบ” หลอกคนไทยไปทำงานต่างประเทศ ผู้เสียหายนับร้อย เสียหายกว่า 30 ล้านบาท
"กรมโยธาฯ" แจง 3 ข้อ ปมเหตุก่อสร้างซุ้มประตูเมือง จ.อุดรธานี ล่าช้า
โฆษกเพื่อไทย สยบลือ ร้องหยุดโจมตี "ภูมิใจไทย" พร้อมคว่ำงบฯ 69 ตอบโต้คดีฮั้วสว. ยันพรรคร่วมฯทำงานปกติ
“สมศักดิ์” ย้ำไม่พบผู้ป่วย "โรคแอนแทรกซ์" เพิ่ม ยังคงเดิม 4 ราย เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังใกล้ชิด
"อ.แก้วสรร" สวนคำ "ทนายวันชัย" ตัดวิกฤตออกก็ได้ แต่พิรุธพฤติกรรมหมอ 2 รพ. ชี้ชัด "ทักษิณ" ป่วย สมควรพ้นคุกนอนชั้น 14 หรือไม่
ผู้นำญี่ปุ่นวอนสหรัฐยกเลิกกำแพงภาษีทั้งหมด
สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา 2568
KNU ปูดข่าวช็อก! “พม่า-รัสเซีย” จ่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใกล้ “กาญจน์”
ผู้ว่าฯชลบุรี เดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิก พร้อมเยี่ยมเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย
ผอ.สปภ.กทม. ยืนยัน ไม่มีผู้ติดค้างเพิ่ม หลังยุติค้นหา เหตุ "ตึกสตง." ถล่ม- เตรียมทำบุญใหญ่ 13 พ.ค.นี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น