กรรมการสภาวิศวกร เปิดภาพคอนกรีต “ตึกสตง.” ถล่ม พบสีซีดจาง มีความเป็นฝุ่น รูพรุนเพียบ ตั้งข้อสังเกต คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน

กรรมการสภาวิศวกร เปิดภาพคอนกรีต "ตึกสตง." ถล่ม พบสีซีดจาง มีความเป็นฝุ่น รูพรุนเพียบ ตั้งข้อสังเกต คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน

กรรมการสภาวิศวกร เปิดภาพคอนกรีต “ตึกสตง.” ถล่ม พบสีซีดจาง มีความเป็นฝุ่น รูพรุนเพียบ ตั้งข้อสังเกต คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากกรณีตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่กำลังก่อสร้างพังถล่ม จากเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งสาเหตุยังอยู่ระหว่างการสอบสวน แต่ขณะนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุอาจมาจากการออกแบบอาคาร คุณภาพของเหล็ก ความแข็งแรงของปล่องลิฟท์ การบิดตัวของอาคารที่ไม่สมมาตรหรือไม่ และล่าสุดที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าอาจเป็นเหตุให้ตึกสตง.แห่งใหม่ถล่ม อาจมาจากคุณภาพคอนกรีตหรือไม่

โดยนายชูเลิศ จิตเจือจุน กรรมการสภาวิศวกร โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กว่า “คุณภาพคอนกรีต” อีกหนึ่งประเด็นที่อาจจะเป็นสาเหตุหลัก ในการถล่มของอาคาร สตง.นอกจากการเจาะเก็บแท่งตัวอย่างไปทดสอบในห้องปฏิบัติการณ์ของสถาบันกลางแล้ว แนะนำว่าควรเก็บตัวอย่างคอนกรีตไปทดสอบ Petrographic Analysis ร่วมด้วยครับ เพราะสามารถตรวจสอบได้ แม้คอนกรีตจะกลายเป็น “เศษซาก” ไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและโปร่งใส ให้มากที่สุด

 

 

นายชูเลิศ ยังโพสต์ภาพตัวอย่างคอนกรีตเปรียบเทียบระหว่างคอนกรีตอายุ 30 ปี กับคอนกรีตอาคาร สตง. ซึ่งจากภาพจะเห็นได้ว่าสภาพคอนกรีตอาคารเก่าอายุ 30 ปีที่ถูกสกัดทิ้ง ค่ากำลังอัดคอนกรีตประมาณ 240-280 KSC หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และเนื้อคอนกรีตมีความสม่ำเสมอกัน มีการยึดเกาะกันโดยไม่มีแยกตัว และพบรูพรุนในคอนกรีตเล็กน้อย ส่วนสภาพคอนกรีตอาคาร สตง.ที่พังถล่ม ค่ากำลังอัดคอนกรีตที่ระบุให้ใช้ 350-500 KSC สังเกตว่าเนื้อคอนกรีตมีความเป็นฝุ่นอย่างเห็นได้ชัด มีสีซีดจาง พบรูพรุนในคอนกรีตจำนวนมา

 

สำหรับวิธีการทดสอบแบบ Petrographic Analysis ที่นายชูเลิศแนะนำนั้น การตรวจด้วยวิธีนี้จะแสดงให้เห็นลักษณะสำคัญของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว โดยใช้ตัวอย่างจากการสกัดหรือกระบอกทดสอบ ซึ่งจะถูกตัดเป็นแผ่นบาง ๆ จากนั้นพื้นผิวที่เตรียมไว้จะถูกวิเคราะห์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยใช้กำลังขยายตั้งแต่ 10x ถึง 60x และสูงสุดถึง 400x การตรวจสอบจะปฏิบัติตตามแนวทาง ASTM C856 เพื่อประเมินคุณสมบัติคอนกรีตที่สำคัญต่าง ๆ เช่น อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ปริมาณอากาศ การบ่มที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ ทั้งนี้ผลกระทบจากการเพิ่มน้ำในคอนกรีตมากเกินไป จะทำให้กำลังอัดลดลง ซึ่งนายชูเลิศ บอกด้วยว่า คณะกรรมการตรวจสอบเจาะลูกปูนไปทดสอบแล้ว ตั้งแต่ช่วงก่อนสงกรานต์ แต่ผลยังไม่ออกมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กกร." ชี้มาตรการภาษีกระทบหนัก หนุนรัฐเร่งเจรจาสหรัฐ ห่วงมูลค่าส่งออกหาย 1.4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี
"มนพร" เดินหน้าแผนพัฒนาท่าเรือคลองเตย นำร่องปรับที่ดิน 520 ไร่ ใช้ประโยชน์สูงสุด ไม่กระทบชุมชน
"โฆษกฯกองทัพไทย" แจงอากาศยานไร้คนขับ ที่สังขละบุรี บินตามอำนาจหน้าที่ถูกต้อง
“ทวี​” เผย​ดีเอสไอ เตรียมแจ้งข้อกล่าวหา​ "ฟอกเงิน​-อั้งยี่"​ ปมฮั้วสว. ย้ำมั่นใจพยานหลักฐาน​
ไร้เงา "ผู้ว่าฯสตง." ร่วมสรุปเหตุตึกถล่มกับกมธ. อ้างติดภารกิจอื่น ส่งรองผู้ว่าฯเข้าร่วมแทน
"ทวี" มั่นใจ "ราชทัณฑ์" พร้อมแจงศาล ยึดระเบียบบริหารโทษ พา "ทักษิณ" นอนชั้น 14
ฉะเชิงเทรา ผบ.พล.ร.11 มอบทุนการศึกษาแก่บุตรกำลังพล
“นายกฯ” แถลงจับยานรกล็อตใหญ่ ยึดยาบ้ากว่า 8 ล้านเม็ด-ยาไอซ์ 18 กระสอบ ลั่น รบ.เดินหน้าแก้ไขจริงจัง
"นายกฯ" หารือ "ผู้บริหารซีพี" เดินหน้ายกระดับ "ดาต้าเซ็นเตอร์ไทย" สู่ศูนย์กลางศก.ดิจิทัล อาเซียน
กมธ.สร้างสันติภาพชายแดนใต้ ประณามเหตุรุนแรง ประกาศจุดยืน 5 ข้อ แนะทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพูดคุย เร่งแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น