คืบหน้ายอดผู้เสียชีวิตแผ่นดินไหว “เมียนมา” ทะลุ 150 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 700 คน

คืบหน้ายอดผู้เสียชีวิตแผ่นดินไหว "เมียนมา" ทะลุ 150 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 700 คน

นายพลมิน อ่อง หล่าย หัวหน้าคณะรัฐประหารเมียนมาร์ ออกแถลงการณ์ถึงความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหวระบุว่า ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวมีอย่างกว้างขวางในมัณฑะเลย์ สะกาย และเนปิดอว์ จนถึงขณะนี้ มีรายงานผู้เสียชีวิต 144 ราย ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บพบ 732 ราย อย่างไรก็ดี จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แถลงการณ์ของนายพลมิน อ่อง หล่าย ออกมาช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 28 มีนาคม ซึ่งล่าสุด MRTV ของรัฐบาลเมียนมาร์ รายงานความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหว ผ่านแอปพลิเคชันเทเลแกรม ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 153 ราย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

แถลงการณ์ของท่านนายพลระบุต่อว่า เนื่องจากขณะนี้ เรากำลังดำเนินการบรรเทาทุกข์ครั้งใหญ่จากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้ ตนจึงอยากขอร้องให้ทุกฝ่าย เข้าช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ตนยังได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด และเปิดช่องทางทุกทางในการให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ล่าสุด ศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมด้านการจัดการภัยพิบัติ (หรือ AHA) ได้เสนอที่จะส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินให้ในวันพรุ่งนี้ และอินเดียก็เสนอที่จะส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ในวันพรุ่งนี้เช่นกัน

 

 

ทั้งนี้ เมียนมาร์ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ก็มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และสร้างความเสียหายหนัก เกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อย มีผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวจำนวนมาก ได้ออกมาให้ข้อมูลและวิเคราะห์ถึงเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ เช่น บิล แม็กไกวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ให้ข้อมูลว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มีนาคม อาจเป็นเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้น บนแผ่นดินใหญ่ของเมียนมาร์ ในรอบ 3 ใน 4 ศตวรรษ

 

ด้านโรเจอร์ มัสสัน นักวิจัยกิตติมศักดิ์ของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาอังกฤษ กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความลึกเพียง 10 กิโลเมตร ทำให้ความเสียหายรุนแรงมาก เนื่องจากเกิดขึ้นที่ระดับความลึกที่ถือว่าตื้น ดังนั้น คลื่นกระแทกจึงไม่สามารถสลายตัวได้ เมื่อเคลื่อนจากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวขึ้นไปยังพื้นผิว อาคารต่างๆ จึงต้องรับแรงสั่นสะเทือนเต็มที่ สิ่งสำคัญคือต้องไม่มุ่งความสนใจไปที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นไหวสะเทือน ไม่ได้แผ่ออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว แต่แผ่ออกมาจากแนวรอยเลื่อนทั้งหมด

มัสสันกล่าวต่อว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้เกิดขึ้นในปี 1956 (พ.ศ. 2500) บ้านเรือนต่างๆ จึงไม่น่าจะได้รับการสร้างที่ให้ทนทานต่อแรงแผ่นดินไหวที่รุนแรงเท่ากับที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ แผ่นดินไหวส่วนใหญ่ในเมียนมาร์ จะเกิดขึ้นทางตะวันตกมากกว่า ในขณะที่แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นที่ใจกลางของประเทศ

ทั้งนี้ การเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเขตสะกายซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ที่มีประชากรหนาแน่นนั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ส่งผลให้ไม่มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว ความเสียหายจึงอาจเลวร้ายลงได้มาก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ซูเปอร์โพล" ชี้ช่องรัฐสร้างความสุขคนไทย ควรเร่งหามาตรการลดค่าครองชีพ ส่งเสริมกิจกรรมครอบครัว-ชุมชน
ชัยภูมิสุดคึกคัก ชาวบ้านร่วมประเพณี "แห่นาคโหด" ซอฟต์พาวเวอร์ หนึ่งเดียวในโลก
ปชช.เฝ้ารับเสด็จฯ ‘ในหลวง-พระราชินี’ เนื่องแน่น ในพระราชพิธีวันฉัตรมงคล
"กรรมการสภาวิศวกร" ชี้เพิ่มสาเหตุตึกสตง.ถล่ม คาใจมีใครสั่งการ? การตรวจสอบเจาะจง เลี่ยงจุดมีปัญหา
"พลภูมิ" เปิดงาน "เที่ยวชุมชน ยลวิถี" บ้านชากแง้ว ชูต้นแบบวัฒนธรรมไทย–จีน พลิกชุมชนสู่ Soft Power ระดับประเทศ
นายกฯ ย้ำ "เอนเตอร์เทนเมนต์ฯ" ไม่ใช่เงินรัฐ "กาสิโน" ยึดโมเดลสิงคโปร์ ท่องเที่ยวแบบ Man made สร้างรายได้เข้าปท.
สมช.ประณามโจรใต้ไร้อารยะ ทำกับผู้หญิง-เด็ก-ผู้สูงอายุ ลั่นจะนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างถึงที่สุด
"นายกฯ" สื่อมั่นใจเจรจาภาษีการค้าสหรัฐฯ ลั่นมีดีลลับต่อรอง "ทรัมป์" ขอคนไทยสบายใจได้
"นิด้าโพล" สะท้อนเสียงจว.ชายแดนใต้ ชี้ความปลอดภัยยังแย่ ปชช.ส่วนใหญ่มองรัฐ ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
สลด "2 สาว" เที่ยวอุทยานฯน้ำตกทรายขาว ปัตตานี น้ำป่าซัดแรง เสียชีวิต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น