“ไอเอฟดีโพล” ชี้ รัฐบาล-นายกฯ อุ๊งอิ๊ง สอบไม่ผ่านครึ่งปีแรก แนะเร่งแก้ 4 เรื่องด่วน กู้ความเชื่อมั่น

"ไอเอฟดีโพล" ชี้ รัฐบาล-นายกฯ อุ๊งอิ๊ง สอบไม่ผ่านครึ่งปีแรก แนะเร่งแก้ 4 เรื่องด่วน กู้ความเชื่อมั่น

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (ดร.แดน) ประธานสถาบันการสร้างชาติ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา และนักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริก และนางจิตติมา บุญวิทยา ผู้อำนวยการไอเอฟดีโพลและเซอร์เวย์ ร่วมแถลงผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ไทยตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เรื่อง ความพึงพอใจการทำงานของนางสาวแพทองธาร ชินวัตรนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล จำนวน 1,303 ตัวอย่าง สำรวจ 28 ก.พ. – 3 มี.ค. 2568 ใน 6 ภูมิภาค สุ่ม‍ตัวอย่างความน่าจะเป็นแบบ Stratified Five-Stage Random Sampling ค่าความผิดพลาด 3% ระดับความเชื่อมั่น 95%

 

โดยผลสำรวจ IFD Poll ชี้ รัฐบาลและนายกฯ อุ๊งอิ๊ง คะแนนพึงพอใจต่ำ สำรวจความพึงพอใจต่อการทำงานของรัฐบาลและนายกฯ อุ๊งอิ๊ง 6 เดือนแรก พบว่า ประชาชนไม่พึงพอใจมากและไม่ค่อยพอใจต่อรัฐบาล (66.43%) ขณะที่ประชาชนไม่พึงพอใจมากและไม่ค่อยพอใจต่อนายกฯ อุ๊งอิ๊ง (66.77%) โดย 5 ประเด็นหลักที่ประชาชนไม่พึงพอใจมากและไม่ค่อยพอใจ ดังนี้

ผลประเมินการทำงานรัฐบาล:
1. ขาดความโปร่งใส/ตรวจสอบได้​ ​​​​​69.59%
2. ยังขาดประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า​​​​​67.21%
3. ยังไม่สามารถรับมือ แก้ปัญหา ตอบสนองตรงจุด ทันเวลา ​​​66.26%
4. ยังไม่รับผิดชอบต่อการตัดสินใจและผลที่ตามมาเท่าที่ควร​​​​66.02%
5. ลำเอียง การไม่ได้ดูแลทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม​​​​​65.45%

ขณะที่ผลประเมินการทำงานนายกรัฐมนตรี แพทองธาร:
1. ขาดความโปร่งใส/ตรวจสอบได้ ​​​​​​68.71%
2. ใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า/เกิดประโยชน์สูงสุด ​​​​​68.05%
3. ไม่สามารถขับเคลื่อนงาน/นโยบายได้สำเร็จตามเป้าหมาย​​ ​​67.22%
4. เลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน ไม่ยุติธรรม ​​​​​​67.07%
5. ยังไม่ส่งเสริมคนดีเป็นผู้นำและทีมงาน​​​​​​66.92%

ข่าวที่น่าสนใจ

ผลสำรวจเผย รัฐบาลและนายกฯ อุ๊งอิ๊ง ไม่ผ่านเกณฑ์ในสายตาประชาชน โดยทั้งคู่สอบตก 3 เรื่องคือ 1) ความไม่โปร่งใส 2) ใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า และ 3) เลือกปฏิบัติสองมาตรฐาน ไม่ยุติธรรม เมื่อพิจารณาการทำงานของรัฐบาล ประเด็นที่ประชาชนไม่‍พึงพอใจมาก (36.24%) คือ ขาดเอกภาพและประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของพรรคร่วมรัฐบาล ขณะที่ประชาชนไม่พึงพอใจการทำงานของนายกฯ 5 อันดับแรก ซึ่งเป็นเรื่องภาวะคุณธรรม 3 เรื่อง ได้แก่ 1) ไม่โปร่งใส 2) เลือกปฏิบัติสองมาตรฐานไม่ยุติธรรม และ 3) ไม่ส่งเสริมคนดีเป็นผู้นำและทีมงาน นับว่าเป็นจุดที่ประชาชนเพ่งเล็งและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมจากผลสำรวจว่า ตนคิดว่าความเห็นประชาชน ณ วันนี้ ที่ไม่ได้สะท้อนว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนจะไม่ลงคะแนนให้ แต่ขึ้นกับวันนี้จากนี้ไปก่อนเลือกตั้งครั้งหน้าปี 2570 ที่พรรคต่างต้องเร่งเครื่องแข่งขันกัน

 

นอกจากนั้น ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ยังเสนอว่า การที่รัฐบาลและท่านนายกฯ จะเพิ่มความเชื่อมั่นจากประชาชนได้ จำเป็นต้องแก้ไขและพัฒนาใน 4 ด้านหลัก คือ สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและแก้ปัญหาปากท้องประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและใช้ทรัพยากรคุ้มค่า โปร่งใสตรวจสอบได้ และสร้างความเป็นเอกภาพ/เสถียรภาพของรัฐบาล ดังนี้

1) ปลุกเศรษฐกิจ กู้ปากท้องประชาชน ต้องเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้ทันสมัย บริหารหนี้สาธารณะ หนี้เอกชน และหนี้ครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรับมือการกระชากเปลี่ยนจากนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ และกระแสการเปลี่ยนแปลงโลก การปรับปรุงภาพลักษณ์ของรัฐบาลในเวทีระหว่างประเทศ การผลักดันมาตรการขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคสินค้าภายในประเทศ ทำให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและราคาที่แข่งขันกับสินค้าจากภายนอกประเทศได้ รวมถึงลดการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามโควตาพรรคการเมือง แต่เป็นการคัดเลือกคนดีมีฝีมือที่มีความสามารถจริง แม้เป็นคนนอก เข้า‍มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง

2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและใช้ทรัพยากรคุ้มค่า รัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญในการใช้งบประมาณที่จำกัดได้มีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเพิ่มเม็ดเงินให้ภาคการผลิตที่สร้างมูลค่าจริง ไม่ใช่หว่านงบประมาณแบบไร้‍ทิศทาง โครงการประชานิยมที่ไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริงต้องถูกทบทวน มุ่งเน้นนโยบายและลงทุนในโครงการที่สร้าง‍ประโยชน์และความแข็งแกร่งให้กับประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

3) โปร่งใสคือทางรอด สร้างความเชื่อมั่นแบบทวีคูณ! ปัญหาทุจริตกัดกินประเทศมานานถึงเวลาที่รัฐบาลต้องลงมือจริงจัง! ทุก‍กระทรวงต้องเปิดเผยข้อมูลการใช้เงินรัฐ ตรวจสอบโครงการที่ส่อแววทุจริต ปฏิรูประบบราชการให้ปราศจากการ‍แทรกแซงของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง สร้างกลไกตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ อุดช่องโหว่ระหว่างภาคการเมืองและราชการ ถ้ารัฐบาลต้องการความเชื่อมั่น ประชาชนต้องมั่นใจว่าเงินภาษีทุกบาทถูกใช้เพื่อพัฒนาประเทศ ไม่ใช่เติมกระเป๋าของกลุ่มคนบางกลุ่ม และ

4) พรรคร่วมรัฐบาล อย่าทิ้งกันกลางทาง ประชาชนส่งเสียงดังฟังชัด ไม่พอใจรัฐบาลทั้งทีม โดยพรรคร่วมรัฐบาลไม่อาจปัดความ‍รับผิดชอบ ทุกพรรคต้องร่วมกันสร้างเอกภาพ ลดความขัดแย้งทางการเมือง และแสดงให้เห็นว่าการบริหารประเทศต้องมาก่อนเกมอำนาจ ต้องปรับวัฒนธรรมการเมืองให้สร้างสรรค์ หยุดแบ่งพวกแบ่งพรรคเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ประสานงานกันให้เป็นระบบ วางทิศทางที่ชัดเจน สื่อสารกับประชาชนอย่างโปร่งใส มุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าการรักษาอำนาจ เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นจากประชาชนและนำพาประเทศไปข้างหน้า

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สระแก้ว ระทึก เพลิงไหม้โกดังสินค้าตู้แช่มือสอง กลุ่มควันลอยปกคลุมเมืองสระแก้วกว่า 10 กม.
“อนุทิน” ย้ำจุดยืน “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ” พรรคร่วมต้องเป็นหนึ่ง หนุนทำประชามติ ฟังเสียงประชาชน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ฮ่องกงแข่งปีน 'ภูเขาซาลาเปา'
"พรรคส้ม" ออกแถลงการณ์ด่วน ผู้สมัคร สท.สมุทรปราการ โดนจับตั้งแก๊ง "บุญรักษา" ค้ายาเสพติดรายใหญ่
"ผบ.ทบ." ลงพื้นที่ "นราธิวาส" สั่งเพิ่มมาตรการยกระดับควบคุมพื้นที่ ย้ำงานด้านการข่าว เข้มดูแลประชาชน พร้อมเร่งติดตามผู้ก่อเหตุรุนแรงมาดำเนินคดี
ย้อนรอย 21 ปี ไฟใต้ กับ “9 นายกฯ” อะไรคือจุดเริ่มต้นและจุดจบของปัญหา
"ภูมิธรรม" ย้ำพบ "จุฬาราชมนตรี" พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมอง ปัญหาความไม่สงบชายแดนใต้ พร้อมเดินหน้าเจรจาอีกหลายส่วน
"กกต."เบรกข่าวลือจ่อฟัน 60 สว. แจงขั้นตอนสอบล่าสุด คกก.เพิ่งเริ่มไต่สวน ปมฮั้วลงคะแนน
อำเภอบางละมุง แจ้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำรวจข้อมูลเด็กยากจน พร้อมรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อเข้ารับทุนพัฒนาเด็กชนบท
ชายแดนไทย-เมียนมา ด้านตรงข้าม จ.ตาก กลับมาระอุอีกครั้ง กกล.KNLA ร่วม กกล.KNDO โจมตีทหารเมียนมา ฐานเรปะนาดิ ผู้อพยพทะลักข้ามฝั่งไทยกว่า 100 คน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น