เผยหน่วยข่าวกรองตุรกีช่วยดีลปล่อยคนไทย

สื่อทางการตุรกีรายงานว่าเบื้องหลังอิสรภาพ 5 คนงานไทย พ้นสภาพตัวประกันเกือบ 16 เดือนในฉนวนกาซ่า คือหน่วยข่าวกรองที่ช่วยเจรจากับฮามาส ตามข้อสั่งการของประธานาธิบดี

 

 

สำนักข่าว อนาโดลู ของทางการตุรกี รายงานเมื่อวานนี้ (30 มกราคม) โดยอ้างแหล่งข่าวความมั่นคงว่า องค์การข่าวกรองแห่งชาติตุรกี หรือ MIT เป็นหน่วยงานที่ช่วยเจรจากับฮามาส นำไปสู่การปล่อยตัวคนงานไทย 5 คน ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไปเป็นตัวประกัน ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีเรเจ๊บ แตยิบ แอร์โดอันของตุรกี ซึ่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในความพยายามแก้ไขปัญหาขัดแย้งในกาซ่าด้วย

สื่อทางการตุรกี รายงานเรื่องนี้สั้น ๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด แต่เมื่อวันพุธที่ 29 มกราคม ประธานาธิบดีแอร์โดอัน ได้พบปะพูดคุยกับ มูฮัมหมัด อิสมาอิล ดาร์วิช ผู้นำการเมืองของฮามาสในกรุงอังการา เมืองหลวงตุรกี โดยในการประชุมที่ว่านี้ มี นายฮากัน ฟิดาน รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกี และ อิบราฮีม คาลิน ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองเข้าร่วมด้วย

สำหรับนายมูฮัมหมัด อิสมาอิล ดาร์วิช ตามรายงานจาก สำนักข่าว อัล อาราบียา สื่อซาอุดีอาระเบีย เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ระบุว่า เขาขึ้นเป็นผู้นำปีกการเมืองของฮามาส แทน อิสมาอิล ฮานีเยห์ ที่ถูกลอบสังหารในกรุงเตหะราน ปัจจุุบัน พำนักในกาตาร์ และจะเป็นผู้นำการเมืองของฮามาส จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่

เหตุการณ์ที่ฮามาส บุกเข้าไปโจมตีอิสราเอลอย่างนองเลือดเมื่อ 7 ตุลาคม 2566 มีคนงานไทยถูกจับเป็นตัวประกันทั้งหมด 31 คน จำนวนนี้ 23 คนได้รับการปล่อยตัว ในช่วงหยุดยิงรอบแรกในเดือนพฤศจิกายน 2566 จากนั้นก็ไม่มีการปล่อยตัวอีกเลย และที่ยังต้องติดตามต่อไปคือชะตากรรมของ ณัฐพงษ์ ปินตา อายุ 35 ปี ที่ยังไม่มีความชัดเจน กับศพคนไทยอีก 2 รายที่ยังอยู่ในกาซา

ตามข้อมูลจากทางการไทย มีคนไทยในอิสราเอลทั้งหมด 46 คน ที่เสียชีวิตในระยะเวลาเกือบ 16 เดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ ถูกฮามาสหรือกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่นสังหาร ขณะบุกนิคมเกษตรอิสราเอลเมื่อนที่ 7 ตุลาคม ส่วนรายอื่น ๆ เสียชีวิตจากจรวดที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ยิงเข้าไปโจมตีทางเหนือของอิสราเอล ก่อนที่สองฝ่ายหยุดยิง

ในช่วงเวลาที่ฮามาสบุกโจมตี ไทยมีพลเมืองอยู่ในอิสราเอล ราว 3 หมื่นคน ส่วนใหญ่เข้าไปทำงานในภาคเกษตร เป็นพลเมืองต่างชาติกลุ่มใหญ่สุดที่เผชิญความสูญเสียและได้รับผลกระทบจากการโจมตีของฮามาสมากที่สุด

วีโอเอไทย อ้างรายงานจาก AP  ว่า  ปัจจุบัน มีแรงงานไทยมากกว่า 38,000 คนที่ยังทำงานอยู่ในอิสราเอล เป็นผลมาจากอิสราเอลมีมาตรการจูงใจแรงงานมากขึ้น เช่น การขยายวีซ่าทำงาน และการจ่ายโบนัสเพิ่ม 500 ดอลลาร์ต่อเดือน รวมทั้งค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานไทย ระบุว่า ได้ออกใบอนุญาตทำงานให้แรงงานไทย 3,966 ให้เข้าไปทำงานในอิสราเอลเมื่อปีที่แล้ว ทำให้อิสราเอลยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของแรงงานไทย 4 อันดับแรกเมื่อปีก่อ

 

 

เครดิตภาพ

Royal Thai Embassy, Tel Aviv (ทุกเรื่องเมืองยิว)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด
สธ.สั่งเด้งทันที "ผอ.รพ." เมาแล้วขับชน 2 ช่างภาพ เจ็บสาหัส ยันพร้อมดูแลให้ความเป็นธรรมเต็มที่
สหรัฐขอเจรจาภาษีกับจีนแล้ว
"โฆษกกองทัพบก" แจงกมธ.มั่นคง ยืนยัน ทบ. ไม่มี IO ปัดทำเพจด้อยค่า "นักการเมือง" ย้ำหากเจอแจ้งดำเนินคดีได้เลย
"พิพัฒน์" ร่วมวันแรงงานฯ มอบของขวัญ โครงการ “ทุนอาชีพ”ดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 1.2 แสนล้าน เอื้อนายจ้าง-ลูกจ้าง สร้างโอกาส อาชีพใหม่ เพิ่มรายได้
"ไทย-กัมพูชา" ประชุมจีบีซี ครั้งที่ 17 สานสัมพันธ์ 2 ประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจ ใช้มาตรการเข้มแนวชายแดน ร่วมมือแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์
"เบนซ์ เรสซิ่ง" แจ้งจับมือดีตัดต่อคลิป ชักชวนเล่นพนัน
ตร.จ่อแจ้ง 2 ข้อหาหนัก "ผอ.รพ." เมาซิ่งชน "2 ผู้ช่วยช่างภาพทีวี" เจ็บสาหัส
"เครือข่ายปชช." ยื่นหนังสือถึงกองทัพ ก่อนประชุม GBC แนะเจรจาปมเขตแดนก่อน ขอรบ.ยึดมั่นประโยชน์ประเทศ
ไฟไหม้ตลาดเสื้อผ้าชื่อดังกลางเมืองหลวงจอร์เจีย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น