X

ขอนแก่น มอบสารกำจัดแมลงและเวชภัณฑ์สัตว์จากการระบาดของโรคลัมปีสกิน

10 มิ.ย.64 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ ต.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ให้กำลังใจเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดลัมปีสกินพร้อมกับมอบสารกำจัดแมลงเวชภัณฑ์กว่าร้อยราย และได้ให้คำแนะนำเกษตรกรถึงการป้องกันควบคุมและกำจัดโรคลัมปีสกิน ให้ได้ผล ต้องทำ 5 มาตรการควบคู่กันไป ทั้งการควบคุมการเคลื่อนย้ายโค-กระบือเพื่อลดการแพร่กระจายของโรค  รวมถึงการป้องกันและควบคุมพาหะนำโรคให้เกษตรกรป้องกันโดยใช้สารกำจัดแมลงทั้งตัวสัตว์และรอบฟาร์มทั้งในพื้นที่ระบาดของโรคและพื้นที่เสี่ยง อีกทั้งยังมีการรักษาตามอาการและใช้วัคซีนควบคุมโรค พร้อมกันนี้ได้ฉีดวัคซีนให้กับโค-กระบือในพื้นที่ ต.ทุ่งโปร่ง อ.อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ให้เกษตรกร 45 ราย เป็นโค จำนวน 80 ตัว โดยจะมีการประเมิณสุขภาพของโคแต่ละตัว ว่าจะรับวัคซีนได้หรือไม่ หากร่างกายไม่พร้อม เช่น มีไข้ ทางสัตวแพทย์ก็จะให้เป็นยาบำรุงไปก่อน ซึ่งวัคซีน1ขวด จะสามารถฉีดโค-กระบือได้ 20 ตัว ซึ่งจังหวัดขอนแก่นได้รับการจัดสรรวัคซีนมาทั้งหมด 640 โดส ข้อมูลจาก ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น เปิดเผยตัวเลขโค-กระบือ ติดเชื้อ  แล้ว 25 อำเภอ มีสัตว์ป่วย 2,073 ตัว  แบ่งเป็นโคเนื้อ 2,032 ตัว โคนม 31 ตัว และกระบือ 10 ตัวมีสัตว์ป่วยตาย 95 ตัว  โดยปศุสัตว์จังหวักขอนแก่นได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว 1,081 ราย โดยหยอดยาป้องกะนแมลง พ่นสารกำจัดแมลง พ่นน้ำยาฆ่าทำลายเชื้อโรคและแจกสารกำจัดแมลง

    อธิบดีกรมปศุสัตว์  เปิดเผยว่า ตัวเลขโค-กระบือป่วยลัมปีสกินในวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ทั้งประเทศ ประมาณ 50,000ตัว ส่วนสัตว์ตายอยู่ที่ประมาณ 500 ตัว คิดเป็นอัตราการป่วยร้อยละ 30 อัตราการตายร้อยละ10 โดยส่วนใหญ่สัตว์ที่ตายเป็นวัวอายุน้อยและเป็นสายเลือดยุโรป แต่หากเป็นวัวพื้นบ้านหรือกระบือจะไม่ค่อยพบอัตราการตาน ส่วนเรื่องของการเยียวยาให้เกษตรกรนั้น ได้สั่งให้ทางอำเภออำนวยความสะดวกโดยการถ่ายภาพสัตว์เก็บไว้เป็นหลักฐาน อาจไม่ต้องมีการชันสูตรเพราะโรคนี้สังเกตได้ง่าย เพื่อที่จะเร่งเยียวยาเกษตรกรให้เร็วที่สุด แต่ต้องมีหลักฐานว่าตายจริง นอกจากตัวเลขดังกล่าวยังมีตัวเลขการตายของวัวจากลัมปีสกินที่รอรายงานอีกประมาณ 300 ตัว ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบยืนยัน ส่วนการช่วยเหลือเยียวยาจ่ายชดเชย นั้นต้องเป็นไปตามระเบียบจ่ายไม่เกิน 2 ตัว ต่อเกษตรกร 1 ราย ซึ่งต้องเป็นพื้นที่ประกาศเขตประสบภัยโรคระบาดสัตว์ลัมปีสกิน โดยทางกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เงินเหลือจ่าย ซื้อเวชภัณฑ์ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่

ส่วนประเด็นการซื้อวัคซีนเถื่อน ของเกษตรกร ไปฉีดเองให้โค-กระบือนั้นไม่แนะนำ เพราะหากนำวัคซีนไปฉีดโดยไม่ประเมินสุขภาพของโค หรือไม่ทราบว่าโคตัวนั้น เสี่ยงติดเชื้อลัมปีสกินหรือไม่ หากฉีดวัคซีนเข้าไป จะเป็นการเพิ่มการระบาดได้อย่างรวดเร็ว  อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ให้คำแนะนำ แก่นายไพรวัลย์ จันโสดา เกษตรกรผู้เลี้ยงโค 17 ตัว ซึ่งขณะนี้พบว่า ติดเชื้อแล้วทุกตัว คิดเป็นมูลค่ากว่าล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทางสัตวแพทย์ได้เข้ามาฉีดยารักษา และยาฆ่าแมลงชนิดโดนผิวสัตว์ได้ ทั้งหมด 6 ตัว จาก 17 ตัว ยังคงต้องเฝ้าติดตามอาการของโคที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด

คลิปเด่นประจำวัน

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น