No data was found

หมอยง ชี้ชัด โควิดสายพันธุ์อินเดีย ทำติดเชื้อง่าย แต่ไม่อันตรายเท่าอัฟริกาใต้!

กดติดตาม TOP NEWS

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เผย ไวรัสโควิด สายพันธุ์อินเดีย มีจุดต้องเฝ้าระวัง มีโอกาสหลุดเข้าเซลมนุษย์ และทำติดเชื้อได้ง่าย ส่วน สายพันธุ์เบงกอล มีข้ออันตราย สามารถหลบหนีภูมิต้านทานจากวัคซีน แต่ที่ระบาดในไทยระยะนี้ คือ สายพันธุ์อังกฤษ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เผย ไวรัสโควิด สายพันธุ์อินเดีย มีจุดต้องเฝ้าระวัง มีโอกาสหลุดเข้าเซลมนุษย์ และทำติดเชื้อได้ง่าย ส่วน สายพันธุ์เบงกอล มีข้ออันตราย สามารถหลบหนีภูมิต้านทานจากวัคซีน แต่ที่ระบาดในไทยระยะนี้ คือ สายพันธุ์อังกฤษ

สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ขณะเดียวกับความหวั่นวิตกที่ประเทศอินเดีย มีอัตราการติดเชื้อ และเสียชีวิต เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายวิตกว่ามีโอกาสที่ไวรัสสายพันธุ์ที่เชื่อมโยงกับประเทศอินเดียจะเข้าสู่ประเทศไทย หรือไม่ อย่างไร

ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ให้ความเห็นประเด็น “โควิด-19 ไวรัสกลายพันธ์สายพันธุ์อินเดีย และ เบงกอล มีใจความสำคัญว่า “นักข่าวพยายามจะสอบถาม เรื่องสายพันธุ์อินเดียบ้าง สายพันธุ์เบงกอล บ้าง คงเป็นเพราะมีการระบาดอย่างมากของโควิด-19 ในอินเดีย

เมื่อมีการระบาดมาก ไวรัสก็จะแพร่ลูกหลานได้มาก ก็จะมีโอกาส มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเป็นไปตามหลักวิวัฒนาการ ถ้าดูตามสายพันธุ์อินเดียแล้ว ไม่เหมือนสายพันธุ์อังกฤษ ที่แพร่กระจายง่าย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนบนหนามแหลม ที่ตำแหน่ง 501 เป็น tyrosine (Y) จากสายพันธุ์เดิมคือ asparagine (E) สายพันธุ์อินเดียยังเป็นชนิด asparagine อยู่ แต่สายพันธุ์อินเดียมีจุดที่น่าสนใจในตำแหน่งการตัดแบ่งส่วน spike โปรตีนให้เป็น S1 และ S2 ด้วยเอนไซม์ furin ของมนุษย์ การเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็น basic โดยเฉพาะ arginine (R) ทำให้หลุดเข้าเซลมนุษย์ได้ง่ายขึ้น จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้นได้เช่นกัน

ส่วนสายพันธุ์เบงกอลที่กล่าวถึงกัน จะเป็นการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง 484 เป็น Lysine ที่ทำให้หลบหนีภูมิต้านทานจากวัคซีน เช่นเดียวกับสายพันธุ์อัฟริกาใต้ และบราซิล จึงทำให้มีการกล่าวถึงกันมาก สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้มีอะไรแปลกไปกว่าบราซิล และอัฟริกาใต้ ถ้าดูแล้วสายพันธุ์อัฟริกาใต้ยังน่ากลัวกว่า

จากการตรวจสายพันธุ์โดยศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาฯ กว่า 500 ตัวอย่างที่มีการระบาดอยู่ ณ ขณะนี้มากกว่า 98% ของเราเป็นสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ยังไม่พบสายพันธุ์ อินเดีย เบงกอล อัฟริกาใต้ บราซิล ในประเทศไทย”

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"คุรุสภา" ไม่รอช้า สั่งพักใบอนุญาตวิชาชีพ "รองผอ.ร.ร.ดัง" ย่านนนทบุรี คดีค้ายาเสพติด
รู้จัก "เห็ดขี้ควาย" หนุ่มสถาปัตย์เพาะขาย 2 ปี โกยหลายแสนบาท
“รองแต้ม” ไม่ปลื้ม หลังถูกอ้างชื่อเอี่ยวคดี “ส่วยเว็บพนันฯ” ชี้ปม “ทนายตั้ม” แฉวงการสีกากี ต้องยึดตามพยานหลักฐาน
สหรัฐ เยเลนจะเตือนจีนเรื่องเงินหนุนอุตสาฯพลังงานสะอาด
จีนเตือนภัย ‘พายุทราย’ ระดับสีเหลือง
อัปเดตล่าสุด อาการ “บุ้ง ทะลุวัง” อดอาหารจนเห็นกระดูกชัดมาก
"นายกฯ" มอบนโยบาย "กรมศุลกากร" ลั่นปัญหาทุจริตเยอะรบ.รับไม่ได้ กำชับวิ่งเต้นในกรมศุลฯต้องไม่มีเกิดขึ้น
อาหารเสริมข้าวยีสต์แดงบริษัทญี่ปุ่น ดับแล้ว 4 ราย
จังหวัดศรีสะเกษ จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน
"จนท.ความมั่นคง" จว.ยะลา คุมเข้ม 10 วันสุดท้าย "เดือนรอมฎอน" ป้องกันเหตุการณ์ไม่สงบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น