No data was found

ข้อมูลไม่เคลียร์ !! แคมเปญล่าชื่อ ขวางนายกฯ แก้ปัญหา BTS แป้ก! จับตาสารี เดินหน้าต่ออย่างไร?

กดติดตาม TOP NEWS

ภายหลังจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยการนำของ นางสารี อ๋องสมหวัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ สภาองค์กรของผู้บริโภค เดินหน้าเคลื่้อนไหว ล่ารายชื่อคัดค้านการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี พิจารณาระงับการนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของครม. พร้อมอ้างข้อมูลของกระทรวงคมนาคม ว่า จากการคำนวณอัตราค่าโดยสารในอนาคต สามารถทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้อยู่ในอัตราเพียง 25 บาท เพราะยังมีผลกำไรสูงถึง 23,200 ล้านบาท

ล่าสุด มีการเปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ค “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ว่า สามารถรวบรวมรายชื่อได้จำนวน 8,888 รายชื่อ ก่อนนำความเห็นเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ ในลำดับต่อไป ขณะที่ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ระบุผ่านกิจกรรม ไฮปาร์คออนไลน์ ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ( 19 เม.ย.) หัวข้อ “หยุดครม. ต่อสัญญาล่วงหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว” เน้นย้ำว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อทำให้รถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งสาธารณะเพื่อทุกคน จึงเรียกร้องการให้ครม.ชะลอการพิจารณา ขยายสัมปทานรถไฟฟ้สายสีเขียวออกไปก่อน

โดยอ้างว่ายังมีเวลาจนถึงการหมดอายุสัมปทานในปี 2572 อีก 8 ปี ข้างหน้า จึงสามารถจะพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ที่เหมาะสมได้ รวมถึงยืนยันว่าเป็นไปได้ที่จะทำให้ประเทศไทย มีรถไฟฟ้ามีราคาค่าโดยสารเพียง 25 บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่เกิน 10% ของมาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำ และรวมถึงให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ออกมาชี้แจงข้อมูลเรื่องการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อลดทุกข้อสงสัยและทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องรายชื่อที่ทาง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค เคลื่อนไหวให้ลงชื่อคัดค้านการขยายสัมปทาน ซึ่งระบุว่ามียอดล่าสุดอยู่ที่ 8,888 คน และในจำนวนนี้มีบุคคลที่มีชื่อเสียงด้วย ก่อนหน้านั้้น TOP NEWS ได้สอบถามถึงการตรวจสอบข้อมูลในส่วนดังกล่าว แต่ได้รับคำตอบว่า ให้ยึดเอาตามข้อมูลหรือคำชี้แจงจากการไลฟ์สด ทำให้ไม่สามารถเห็นตัวเลขในภาพรวมได้

 

ขณะเดียวกันกับท่าทีล่าสุด ของ น.ส.สารี ก็มีข้อพิจารณาสำคัญ ให้ต้องตั้งคำถามซ้ำอีกครั้ง ว่า ทำไมจนถึงวันนี้ ยังคงทำให้ประชาชนเข้าใจผิดเรื่องอัตราค่าโดยสาร ว่า การพิจารณาเรี่้องขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะทำให้ผู้โดยสารต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้าในราคา 65 บาท จากคำพูดล่าสุดว่า ถ้าเดินทางไปกลับ ต้องใช้เงินมากถึง 130 บาท หรือ คิดเป็นค่าใช้จ่ายเกินกว่า 10% เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าต่างประเทศ

และเป็นการให้ข้อมูลที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ที่ TOP NEWS นำเสนอหลายครั้ง ว่า ผลการศึกษาของคณะกรรมการฯพิจารณาโครงการ ราคา 65 บาท จริงๆ แล้ว คือ ราคาสูงสุดของอัตราค่าโดยสารสายสีเขียว ที่ควรจะเกิดขึ้น ในกรณีถ้าผู้โดยสาร ขึ้นรถไฟฟ้า ตั้งแต่ต้นทาง และลงปลายทาง ระยะทางรวม 68.25 กิโลเมตร ซึ่งความเป็นจริงถามว่า มีกี่คนที่เลือกใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยขึ้นตั้งแต่ต้นทางไปลงปลายทาง สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียว รวมส่วนต่อขยายที่ 1 คือ ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า , ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และ ส่วนต่อขยายที่ 2 คือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ

และต้องย้ำอีกครั้งว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าว เป็นการพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย ปลัดมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ ร่วมกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง , ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ , เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , อัยการสูงสุด , ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและด้านระบบรถไฟฟ้า ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง

ไม่ใช่คณะกรรมการที่มีพรรคการเมืองใดๆ เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ระมัดระวังไม่ให้เกิดครหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับระหว่างบริษัทเอกชนกับภาครัฐ และที่สำคัญคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวใช้เวลาพิจารณามานานถึง 2 ปี จนมีข้อสรุปเพื่อนำเสนอครม.พิจารณา ว่าจะจัดการเรื่องหนี้สินของกทม.ว่าด้วยการบริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างไร และ เงื่อนไขใดจะทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์มากที่สุด

แต่กลายเป็นว่า นอกจากกรมขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และ คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีนายโสภณ ซารัมย์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ที่ออกมาคัดค้านเมื่อปลายปี 2563 ก็มีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรของผู้บริโภค มีส.ส.พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และ กรรมการบริหารพรรคกล้า อย่าง น.ส.เบญจรงค์ ธารณา ที่อ้างข้อมูลมูลนิธเพื่อผู้บริโภค รวมถึง กระทรวงคมนาคม ออกมาคัดค้าน การพิจารณาแผนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของครม.ในเร็วๆ นี้

และประเด็นข้อมูลที่ออกมาคัดค้านก็แทบไม่ต่างกัน ในทางเคลื่อนไหว คือ รอให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมดอายุสัมปทาน แล้วค่อยหาทางออกเรื่องหนี้สินสะสม 3 หมื่นล้าน ในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะปล่อยให้ BTSC ต้องรับผิดชอบภาระต้นทุนขนาดนี้ แต่เพียงฝ่ายเดียวไปอีก 8 ปี

ขณะที่ เมื่อ TOP NEWS ตั้งคำถามกลับว่าทำไม มูลนิธิฯ และ สภาองค์กรผู้บริโภค ไม่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการพิจารณาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีอื่น ๆ ให้เหลือ 25 บาท บ้าง ก็เป็นทางด้านรฟม.ที่ออกมาชี้แจงแทน ว่า 1. โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในความรับผิดชอบของ รฟม. ภาครัฐเป็นฝ่ายรับภาระค่าลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ในขณะที่ภาคเอกชนรับภาระค่าลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เป็นโครงการก่อสร้างที่มีแนวเส้นทางเป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินกว่าร้อยละ 50

2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีแนวเส้นทางที่ต้องผ่านพื้นที่ชั้นในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ลอดผ่านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา มีความยากในการก่อสร้างและมีความเสี่ยงในการดำเนินการหลายแห่ง จึงทำให้มูลค่าลงทุนโครงการสูงกว่าโครงการรถไฟฟ้ายกระดับ (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ถึง 3 เท่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าที่ผู้รับสัมปทานต้องแบกรับด้วย

3.ปริมาณผู้โดยสารของโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน น้อยกว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวกว่ากึ่งหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ภาคเอกชนลงทุนโครงการทั้งหมด ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ รฟม. (ภาครัฐ) ต้องเป็นผู้รับภาระค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา เพื่อจูงใจให้เอกชนสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนโครงการ

4.หลักเกณฑ์การคิดอัตราค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้ามหานครของ รฟม. เป็นการคิดตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ประกอบกับ รฟม. ได้มีการกำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 12 สถานีด้วย ซึ่งหากพิจารณาโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร เท่ากับมีภาระค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 0.88 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม มีความเหมาะสมและประชาชนยอมรับได้ รวมถึงที่ผ่านมาโครงการ MRT สายสีม่วง รฟม. ยังได้เคยปรับลดค่าโดยสารโดยเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาทอีกด้วย

 

ซึ่งกรณีดังกล่าว ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน ได้ออกมาโพสต์แสดงความเห็นในหัวข้อ “ดูกันชัดๆ อีกที ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม.หรือ รฟม. ถูกกว่า? สรุปใจความสำคัญได้ว่า

“ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม.หรือ รฟม.ถูกกว่า? เพื่อความเป็นธรรม การเปรียบเทียบค่าโดยสารจะต้องเปรียบเทียบต่อระยะทาง 1 กม. ปรากฏว่าได้ผลดังนี้
1. รถไฟฟ้า กทม. หรือสายสีเขียว
ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท เดินทางได้ไกลสุดคือจากคูคต-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 53 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 1.23 บาทต่อกิโลเมตร
2. รถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง
ค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท เดินทางได้ไกลสุดคือจากคลองบางไผ่ (บางใหญ่)-หัวลำโพง ระยะทาง 44 กิโลเมตร กล่าวคือจากคลองบางไผ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง ค่าโดยสาร 42 บาท และจากเตาปูน-หัวลำโพง ระยะทาง 21 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ค่าโดยสาร 28 บาท คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 1.59 บาทต่อกิโลเมตร

สรุป
1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. หรือสายสีเขียวเฉลี่ย 1.23 บาทต่อกิโลเมตร
2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินรวมกับสายสีม่วงเฉลี่ย 1.59 บาทต่อกิโลเมตร
3. สรุปได้ว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม.หรือสายสีเขียวถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินรวมกับสายสีม่วง 36 สตางค์ต่อกิโลเมตร ซึ่งหากคำนึงถึงสัดส่วนการลงทุนในเส้นทางหลัก ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม.ควรถูกกว่า เพราะรัฐร่วมลงทุนมากกว่า”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รัฐบาล" ขอปชช.มั่นใจ รพ.พร้อมรับมือผู้ป่วยโควิด หลังสงกรานต์ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
สัญญาณคืนอำนาจ! "เทพไท" คู่ปรับ "พท." ชี้ "ทักษิณ" รอดคดี112 น้องสาวใกล้พ้นมลทินกลับบ้านอย่างสะดวกโยธิน
"ปิยบุตร" พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ
มาหล่อเลย! "ปิยบุตร" แนะรัฐบาล 2 วิธีทำรธน.ใหม่ไม่แตะหมวด 1 และ 2 โดยไม่เสี่ยงทำประชามติสูญเปล่า
รัฐบาลแนะ ลูกหนี้ "กยศ." ถูกดำเนินคดี รีบเข้าเจรจา ปรับโครงสร้าง ขยายเวลาชำระ
ชัวร์! “พิชัย” รัฐมนตรีป้ายแดง "ขุนคลัง1" ย่องเข้าทำเนียบฯพบ "นายกฯ" กรอกข้อมูลคุณสมบัติรัฐมนตรี
ถอดทุกคำพูด "เช็ค สุทธิพงษ์" เปิดใจเล่าได้สัมผัส "พีระพันธุ์" ยอมรับประทับใจการทำงานมาก
ระทึกอีกแล้ว "สารเคมี" รั่วไหล ควันขาวลอยโขมงทั่วโรงงาน ย่านพระรามที่ 2 เจ้าหน้าที่เร่งระดมระงับเหตุวุ่น
อีกแล้ว 2 ฝรั่งคู่รักเล่นสยิวในทะเล หน้าหาด "เกาะพีพี" ไม่แคร์สายตาผู้คน
โซเชียลวิจารณ์หนัก "ทีมเชื่อมจิต" ออกแถลงการณ์ร้องนายกฯ ฟ้องสื่อ ปล่อยเฟคนิวส์ "น้องไนซ์" จี้ปฏิรูปวงการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น