No data was found

ดร.สามารถ สวนยับรฟม. แจงชัดๆ ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียวถูกกว่าสีน้ำเงิน

กดติดตาม TOP NEWS

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน เหลืออด รฟม.โผล่ออกตัวแทนเอกชน แจงข้อมูล เปรียบเทียบละเอียดรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถูกหรือแพงกว่า รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในความรับผิดชอบของรฟม. และ กระทรวงคมนาคม หลัง TOP NEWS ตั้งคำถามกลับไปถึง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสภาองค์กรเพื่อผู้บริโภค ทำไมต้าน BTS แต่ไม่เคลื่อนไหว เรียกร้องให้ปรับราคารถไฟฟ้า ในการดูแลของรฟม.ให้ลดเหลือเพียง 25 บาทบ้าง หลังออกมาล่ารายชื่อ แนวทางการแก้ปัญหาหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และความเห็นคณะกรรมการผู้ชำนาญการภาครัฐ

 

สืบเนื่องจากการที่ TOP NEWS พยายามนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ที่กลายเป็นประเด็นใหญ่ เพราะบริษัทกรุงเทพธนาคม และ กทม.ไปติดหนี้ภาคเอกชนไว้ถึงประมาณ 3 หมื่นล้าน แยกเป็นหนี้ค่าบริการเดินรถไฟฟ้า และ หนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี 10 เดือน ที่ผ่านมา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ต้องรับผิดชอบภาระต้นทุนโดยลำพังมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเปิดให้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เฉพาะในส่วนต่อขยายโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามแนวนโยบายของภาครัฐเพื่อดูแลช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชน ในช่วงที่ประเทศเกิดผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อโควิด และรอแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ

จนต่อมาปรากฎว่าทั้งนักการเมืองพรรคกล้า และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รวมถึงสภาองค์กรผู้บริโภค โดยน.ส.สารี อ๋องสมหวัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ออกมาขับเคลื่อนให้ข้อมูลในเชิงต่อต้านแนวคิดของรัฐบาล ซึ่งผ่านการพิจารณามาหลายขั้นตอนก่อนหน้า ว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางการขยายสัมปทานให้กับบริษัทเอกชน จนถึงขั้นล่ารายชื่อเพื่อไม่ให้รัฐบาลดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาที่มายาวนานหลายปี

พร้อมระบุด้วยว่าควรทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือแค่ 25 บาท เหมือนในต่างประเทศ แต่ไม่ได้มีการอธิบายหรือให้ข้อเท็จจริงใด ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะข้อเท็จจริงว่าด้วยรูปแบบการดำเนินการต่าง ๆ ที่ภาครัฐต้องเข้าไปสนับสนุน หรือ ต้องมีผลประโยชน์อื่นแลกเปลี่ยน เพื่อให้เอกชนสามารถทำอัตราค่าโดยสารให้ถูกลง

รวมถึงประเด็นสำคัญยังทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาของพล.อ.ประยุทธ์ และรัฐบาล จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพิ่มเป็น 65 บาท ซึ่งก่อนหน้านั้นหลายฝ่ายได้ชี้แจงแล้วว่าราคาค่าโดยสาร 65 บาท เป็นตัวเลขที่กำหนดไว้ในอัตราสูงสุด หรือ เป็นอัตราที่ผู้ใช้รถไฟฟ้าต้องนั่งจากต้นทางไปลงปลายทางที่ระยะทาง 68.25 กม. แต่โดยปกติผู้โดยสารจะใช้บริการรถไฟฟ้าเพียง 29.70 บาท เท่านั้น คือ เป็นการเดินทางระยะสั้่น ๆ แต่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รวมถึงสภาองค์กรผู้บริโภค

และเมื่อ TOP NEWS ตั้งคำถามกลับว่าทำไม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ สภาองค์กรผู้บริโภค ถึงไม่ออกไปเรียกร้องให้รฟม.ดุแลอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้เหลือเพียง 25 บาทบ้าง ปรากฎว่าทาง รฟม. ได้ออกชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ที่สามารถสรุปใจความสำคัญๆ ได้ดังนี้

โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในความรับผิดชอบของ รฟม. ภาครัฐเป็นฝ่ายรับภาระค่าลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา ในขณะที่ภาคเอกชนรับภาระค่าลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เป็นโครงการก่อสร้างที่มีแนวเส้นทางเป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินกว่าร้อยละ 50

อีกทั้งยังมีแนวเส้นทางที่ต้องผ่านพื้นที่ชั้นในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ลอดผ่านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา มีความยากในการก่อสร้างและมีความเสี่ยงในการดำเนินการหลายแห่ง จึงทำให้มูลค่าลงทุนโครงการสูงกว่าโครงการรถไฟฟ้ายกระดับ (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ถึง 3 เท่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าที่ผู้รับสัมปทานต้องแบกรับด้วย

ในทางกลับกันปริมาณผู้โดยสารของโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน กลับน้อยกว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวกว่ากึ่งหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ภาคเอกชนลงทุนโครงการทั้งหมด ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ รฟม. (ภาครัฐ) ต้องเป็นผู้รับภาระค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางโยธา เพื่อจูงใจให้เอกชนสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนโครงการ

พร้อมระบุด้วยว่า หลักเกณฑ์การคิดอัตราค่าโดยสารในโครงการรถไฟฟ้ามหานครของ รฟม. เป็นการคิดตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ประกอบกับ รฟม. ได้มีการกำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 12 สถานีด้วย ซึ่งหากพิจารณาโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ซึ่งมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร จะเห็นว่าประชาชนมีภาระค่าโดยสารเฉลี่ยเพียง 0.88 บาท/กิโลเมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม มีความเหมาะสมและประชาชนยอมรับได้ รวมถึงที่ผ่านมาโครงการ MRT สายสีม่วง รฟม. ยังได้เคยปรับลดค่าโดยสารโดยเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 20 บาทอีกด้วย

 

จากคำชี้แจงดังกล่าว ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านด้านโครงการและแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชน จึงออกมาโพสต์แสดงความเห็นเพิ่มเติมประเด็นดังกล่าวว่า “ดูกันชัดๆ อีกที ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม.หรือ รฟม. ถูกกว่า?

เป็นที่ถกเถียงกันมากว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าของ กทม.หรือของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถูกกว่า หาคำตอบได้จากบทความนี้

รถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ กทม.คือรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีเส้นทางดังนี้

1. เส้นทางหลัก
ประกอบด้วยช่วงหมอชิต-อ่อนนุช ระยะทาง 17 กิโลเมตร และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร กทม.ได้ให้สัมปทานแก่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2542-2572 โดยบีทีเอสเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 100% ทั้งงานโยธาและงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เป็นเงินประมาณ 53,000 ล้านบาท และต้องแบกรับภาระความเสี่ยงเองทั้งหมดด้วย

2. ส่วนต่อขยาย
2.1 ส่วนต่อขยายที่ 1
ประกอบด้วยช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร กทม.จ้างบีทีเอสให้เดินรถตั้งแต่ปี 2555-2585
2.2 ส่วนต่อขยายที่ 2
ประกอบด้วยช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร และช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 17.8 กิโลเมตร กทม.จ้างบีทีเอสให้เดินรถตั้งแต่ปี 2559-2585

หาก กทม.ขยายสัมปทานให้บีทีเอสเป็นเวลา 30 ปี หรือตั้งแต่ปี 2573-2602 โดยจะต้องพ่วงส่วนต่อขยายให้บีทีเอสรับผิดชอบด้วยตั้งแต่วันที่จะลงนามสัญญาจนถึงปี 2602 บีทีเอสจะต้องเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท และบีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้ให้ กทม.ไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท และถ้าได้ผลตอบแทนเกิน 9.6% จะต้องแบ่งรายได้ให้ กทม.เพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ บีทีเอสจะต้องรับภาระหนี้แทน กทม.ถึงปี 2572 และจะต้องรับภาระความเสี่ยงเองทั้งหมด

รถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม.ที่เปิดให้บริการแล้วคือสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง
1. สายสีน้ำเงิน
1.1 เส้นทางหลัก
ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร รฟม.ได้ให้สัมปทานแก่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มเป็นเวลา 25 ปี จากปี 2547-2572 เส้นทางนี้ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 115,812 ล้านบาท โดย รฟม.ลงทุนงานโยธาเป็นเงิน 91,249 ล้านบาท คิดเป็น 79% และบีอีเอ็มลงทุนงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เช่น ขบวนรถ ติดตั้งระบบสื่อสาร อาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว เป็นเงิน 24,563 ล้านบาท คิดเป็น 21%
1.2 ส่วนต่อขยาย
ประกอบด้วยช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 11.08 กิโลเมตร และหัวลำโพง-บางแค (หลักสอง) ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร เป็นการลงทุนรูปแบบเดียวกันกับเส้นทางหลัก กล่าวคือ รฟม.ลงทุนงานโยธา และบีอีเอ็มลงทุนงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

รฟม.ได้ขยายสัมปทานเส้นทางหลักให้บีอีเอ็มออกไปอีก 20 ปี จากปี 2573-2592 โดยพ่วงส่วนต่อขยายให้บีอีเอ็มเป็นผู้รับผิดชอบด้วยตั้งแต่ปี 2560-2592 มีการลงนามในสัญญาขยายสัมปทานไปแล้วเมื่อปี 2560 โดยบีอีเอ็มเก็บค่าโดยสารสูงสุดได้ไม่เกิน 42 บาท หากได้ผลตอบแทนไม่เกิน 9.75% ไม่ต้องแบ่งรายได้ให้ รฟม. แต่ถ้าได้เกิน จะต้องแบ่งให้ รฟม. ทั้งนี้ บีอีเอ็มไม่ต้องช่วยแบกภาระหนี้แทน รฟม. แต่ต้องแบกรับภาระความเสี่ยงเองทั้งหมด

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร มีบทบาทหน้าที่เหมือนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เนื่องจากมีเส้นทางต่อจากสายสีน้ำเงินที่เตาปูน รถไฟฟ้าสายนี้ รฟม.ลงทุนเองทั้งหมด 100% เป็นเงิน 62,903 ล้านบาท และต้องแบกรับภาระความเสี่ยงเองทั้งหมดด้วย โดยได้จ้างบีอีเอ็มให้เดินรถตั้งแต่ปี 2559-2592 เหตุที่ รฟม.ต้องลงทุนเองทั้งหมดเป็นเพราะรถไฟฟ้าสายนี้มีผู้โดยสารน้อย เอกชนจึงไม่สนใจมาร่วมลงทุน

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม.หรือ รฟม.ถูกกว่า? เพื่อความเป็นธรรม การเปรียบเทียบค่าโดยสารจะต้องเปรียบเทียบต่อระยะทาง 1 กม. ปรากฏว่าได้ผลดังนี้
1. รถไฟฟ้า กทม. หรือสายสีเขียว
ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท เดินทางได้ไกลสุดคือจากคูคต-เคหะสมุทรปราการ ระยะทาง 53 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 1.23 บาทต่อกิโลเมตร
2. รถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง
ค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท เดินทางได้ไกลสุดคือจากคลองบางไผ่ (บางใหญ่)-หัวลำโพง ระยะทาง 44 กิโลเมตร กล่าวคือจากคลองบางไผ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง ค่าโดยสาร 42 บาท และจากเตาปูน-หัวลำโพง ระยะทาง 21 กิโลเมตร ใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ค่าโดยสาร 28 บาท คิดเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 1.59 บาทต่อกิโลเมตร

สรุป
1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม. หรือสายสีเขียวเฉลี่ย 1.23 บาทต่อกิโลเมตร
2. ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินรวมกับสายสีม่วงเฉลี่ย 1.59 บาทต่อกิโลเมตร
3. สรุปได้ว่า ค่าโดยสารรถไฟฟ้า กทม.หรือสายสีเขียวถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม. หรือสายสีน้ำเงินรวมกับสายสีม่วง 36 สตางค์ต่อกิโลเมตร ซึ่งหากคำนึงถึงสัดส่วนการลงทุนในเส้นทางหลัก ค่าโดยสารรถไฟฟ้า รฟม.ควรถูกกว่า เพราะรัฐร่วมลงทุนมากกว่า

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายใหญ่จิ้มใครเก้าอี้ "รมว.กลาโหม" ยังลูกผีลูกคน "สุทิน" ได้ต่อวีซ่า หรือ สายตรง "บิ๊กตู่" ผงาด
"รัฐบาล" ขอปชช.มั่นใจ รพ.พร้อมรับมือผู้ป่วยโควิด หลังสงกรานต์ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น
สัญญาณคืนอำนาจ! "เทพไท" คู่ปรับ "พท." ชี้ "ทักษิณ" รอดคดี112 น้องสาวใกล้พ้นมลทินกลับบ้านอย่างสะดวกโยธิน
"ปิยบุตร" พล่านหนุนรื้อแก้รธน.ทั้งฉบับ แบไต๋ทำไมเตือนรัฐบาล อย่าเสี่ยงทำประชามติ 3 รอบ
มาหล่อเลย! "ปิยบุตร" แนะรัฐบาล 2 วิธีทำรธน.ใหม่ไม่แตะหมวด 1 และ 2 โดยไม่เสี่ยงทำประชามติสูญเปล่า
รัฐบาลแนะ ลูกหนี้ "กยศ." ถูกดำเนินคดี รีบเข้าเจรจา ปรับโครงสร้าง ขยายเวลาชำระ
ชัวร์! “พิชัย” รัฐมนตรีป้ายแดง "ขุนคลัง1" ย่องเข้าทำเนียบฯพบ "นายกฯ" กรอกข้อมูลคุณสมบัติรัฐมนตรี
ถอดทุกคำพูด "เช็ค สุทธิพงษ์" เปิดใจเล่าได้สัมผัส "พีระพันธุ์" ยอมรับประทับใจการทำงานมาก
ระทึกอีกแล้ว "สารเคมี" รั่วไหล ควันขาวลอยโขมงทั่วโรงงาน ย่านพระรามที่ 2 เจ้าหน้าที่เร่งระดมระงับเหตุวุ่น
อีกแล้ว 2 ฝรั่งคู่รักเล่นสยิวในทะเล หน้าหาด "เกาะพีพี" ไม่แคร์สายตาผู้คน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น