No data was found

ศปก.ศบค.อาจล็อกดาวน์พื้นที่โควิดระบาดหนัก หาก สธ.เสนอ

กดติดตาม TOP NEWS

ทำเนียบฯ 7 ก.ค.- "พล.อ.ณัฐพล" เผยรอข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุข หากเสนอล็อกดาวน์พื้นที่โควิดระบาดหนัก ก็พร้อมดำเนินการ แต่พื้นที่อื่น ๆ ก็ต้องมีมาตรการเสริม ชี้รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจดูตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่ม หามาตรการแก้ไขต่อเนื่อง

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ผอ.ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่า กำลังรอข้อเสนออย่างเป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข ในการพิจารณาว่าจะล็อคดาวน์ พื้นที่โควิด-19 ระบาด ซึ่งทาง ศบค.พร้อมที่จะรับพิจารณา เพราะต้องฟังข้อคิดเห็นจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นอันดับแรก และนำมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะนี้ถือว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อยังทรงตัว แต่ก็มีการติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ขอให้ทุกคนเข้าใจในคำว่าล็อคดาวน์ ซึ่งหากเปรียบเทียบความหมายแล้วประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ล็อคดาวน์ เมื่อครั้งเดือนเมษายน 2563 แต่หลังจากนั้นแล้วประเทศไทยไม่ได้ดำเนินมาตรการล็อคดาวน์แต่เป็นการปิดพื้นที่ ปิดบางกิจการ จำกัดการเคลื่อนย้าย ทั้งนี้หากตัวเลขมีการเพิ่มสูงขึ้นการประชุมรับข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุขก็จะเร็วขึ้นก่อนวันที่ 12 กรกฎาคม ซึ่งจะครบกำหนดการออกมาตรการล่าสุด แต่หากตัวเลขยังขึ้นลงก็ต้องประเมินให้ครบเวลา 15 วัน เพื่อประเมินครั้งเดียวและให้เกิดความครบถ้วน ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ นั่งรอให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ระหว่างนี้ก็เร่งหามาตรการในการแก้ไขสถานการณ์ เช่นการควบคุมการเคลื่อนย้าย การรักษาพยาบาล การจัดหาเตียงเพิ่มเติม เป็นต้น

ผอ.ศปก.ศบค. กล่าวว่า หากเกิดการล็อกดาวน์ ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง พื้นที่อื่น ๆ ก็จะต้องมีมาตรการเสริมให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อสอดคล้องกับพื้นที่ที่ล็อคดาวน์ ดังนั้นอาจจะต้องมีการลดหลั่นมาตรการไปตามพื้นที่ รัฐบาลไม่ได้หลีกเลี่ยงที่จะล็อกดาวน์ประเทศแต่ความหมายและการดำเนินมาตรการต้องชัดเจนนั่นหมายถึงการล็อกดาวน์คือห้ามไม่ให้ไปไหน และมีมาตรการเคอร์ฟิวส์ เข้ามา การล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน 2563 ผู้ประกอบการและคนที่มีรายได้ไม่ประจำกระทบและเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นกระทรวงการคลังรายงานว่าต้องใช้งบประมาณในการเยียวยาถึงเดือนละ เกือบ 300,000 ล้านบาท ซึ่งหากดำเนินการล็อกดาวน์หมายความว่าต้องใช้งบประมาณจำนวนที่กล่าวมาในการเยียวยาประชาชน ซึ่งก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นทาง ศบค.จึงคำนึงว่าการให้ประชาชนบางส่วนได้ทำมาหากินโดยไม่กระทบและเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ท้ายสุดแล้วจะต้องมีการหารือและวิเคราะห์ปัจจัยในการแก้ไขปัญหาแต่หากกระทรวงสาธารณสุขมองว่าต้นเหตุทั้งหมดเป็นปัจจัย ก็ต้องปฏิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอจึงขอรอฟังเหตุผลอย่างเป็นทางการก่อน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สตช.ปลดป้ายชื่อ “บิ๊กโจ๊ก” หน้าห้องทำงาน ถอดรูปออกจากทำเนียบผู้บังคับบัญชาบนเว็บไซต์ด้วย
สหรัฐ กระแสต้านยิวลามเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ
โคราชประกอบพิธีบรรพชา สามเณรปลูกปัญญาธรรม 1ทศวรรษแห่งความดี 10 ปีแห่งความยั่งยืน
"สุรพงษ์" ลุยปัตตานี พัฒนาระบบขนส่งรถสาธารณะ เชื่อมแหล่งท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกนทท.-ปชช.ในพื้นที่
ผู้โดยสารอินเดีย ซุกงูอนาคอนดาเหลือง 10 ตัวจากไทย
"3 รัฐมนตรี" ยืนยันไทยไม่แทรกแซงกิจการในเมียนมา พร้อมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ย้ำจุดยืนห้ามรุกล้ำดินแดน
"หมอเหรียญฯ" ลั่นสัญญาลูกผู้ชาย รับปาก "ลุงตู่" สร้างโครงการวิสาหกิจการแพทย์ วันนี้ทำจริงไม่ขายฝัน
ภาคเอกชน เผยสถานการณ์เมียนมากระทบค้าชายแดน ลดลงร้อยละ 30 หากยืดยื้อส่อส่งผลรุนแรง
อากาศร้อนทำพ่อค้าแม่ค้าตลาดใหม่ชลบุรีบ่นอุบผักขึ้น กก. ละ 50 บาทไข่ขึ้นราคาแผงละ 6 บาท ทำคนจับจ่ายน้อยขายของยากไม่คึกคัก
แคมป์ปิ้งจีนที่ไห่หนานสุดคึกคัก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น