No data was found

สธ.เคาะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิ บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน

กดติดตาม TOP NEWS

สธ.เคาะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิ บุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน

ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. กระทรวงสาธารณสุข แถลงชี้แจงปมวัคซีนโควิด ภายหลังร่วมประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยระบุว่า ในช่วง 2 เดือน สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ระบาดไปใน 96 ประเทศ ภาพรวมประเทศไทย ระบาดแล้ว 30% ใน กทม.พบ 50% จึงคาดการณ์ว่าทั้งโลกจะเป็นสายพันธุ์เดลตาเกือบทั้งหมด สำหรับเชื้อตัวนี้ไม่ได้รุนแรงกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) แต่ทำให้ผู้ป่วยออกซิเจนในเลือดต่ำ ปอดอักเสบเร็วขึ้น เดิมสายพันธุ์อัลฟา ประมาณ 7-10 วัน แต่สายพันธุ์เดลตาใช้เวลา 3-5 วัน ทำให้ความต้องการเตียงเพิ่มขึ้นมาก ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ระบบสาธารณสุขจะอยู่ไม่ได้

“ไวรัสกลายพันธุ์ตามปกติ เป็นการปรับตัวให้อยู่รอด แต่การแบ่งตัวกลายพันธุ์ ทำให้ไวรัสดื้อต่อภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีน เรามีวัคซีนทำจากเชื้ออู่ฮั่น แต่เมื่อมีการกลายพันธุ์ทำให้วัคซีนประสิทธิภาพลดลง ไม่ใช่วัคซีนไม่ดี แต่จำเป็นต้องหาวัคซีนรุ่นใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีในยี่ห้อใด รวมถึงแอสตราเซนเนกา ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา คาดว่าจะมีออกมาเร็วที่สุดปลายปี 64 ถึงต้นปี 65 ระหว่างรอต้องทำให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้น เพื่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ คณะกรรมการวัคซีนคุยกันมา 2-3 เดือนแล้ว แต่ไม่ได้ออกข่าวเป็นทางการ ทั้งการฉีดเข็ม 3 หรือการฉีดสลับยี่ห้อ ข่าวที่หลุดออกไปเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการประชุมเท่านั้น หลังจากนี้ในการประชุมทุกครั้งจะแถลงข่าวให้ประชาชนรับทราบอย่างเป็นทางการ” ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าว

ข้อมูลจากการศึกษาภูมิต้านทานต่อไวรัสกลายพันธุ์ ในประเทศอังกฤษ พบว่า
ไฟเซอร์ สายพันธุ์บีตา (แอฟริกาใต้) ลดลง7.5 เท่า สายพันธุ์เดลตา ลดลง 2.5 เท่า
แอสตราเซนเนกา สายพันธุ์บีตา ลดลง 9 เท่า สายพันธุ์เดลตา 4.3 เท่า
ซิโนแวค ไม่มีใช้ในยุโรป วิจัยโดย (สวทท.และจุฬาฯ) สายพันธุ์เดลตา ลดลง 4.9 เท่า
วัคซีนแพลตฟอร์มที่กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี คือ mRNA ไฟเซอร์ และโมเดอร์นา รองลงมาเป็นแอสตราฯ และซิโนแวค ตามลำดับ

ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าวอีกว่าสายพันธุ์เดลตา วัคซีนไฟเซอร์และแอสตราฯ ยังป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ 96-92 % สำหรับซิโนแวคยังข้อมูลน้อย แต่ถ้าเทียบกับภูมิต้านทานคือไม่ดีแน่ แต่ยังป้องกันการตายได้ ตอนนี้ขอให้ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์การฉีดวัคซีน แม้ป้องกันไม่ได้ 100% แต่ป้องกันเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้เกิน 90% เพื่อให้เตียงมีมากพอ และผ่อนแรงบุคลากรทางการแพทย์ลงบ้าง ก่อนโควิดเตียงไอซียูใน กทม. 230 เตียง ตอนนี้เบ่งไปเท่าตัว 460 เตียง แต่หมอพยาบาลเท่าเดิม ต้องระดมแผนกอื่นมาช่วย ตอนนี้ไม่มีขวัญกำลังใจเลย ตายวันละ 50-60 คน ติดเชื้อวันละ 5-6 พัน ดังนั้นจึงต้องช่วยกันฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเจ็บตาย ซึ่งมีค่ามหาศาลสำหรับชีวิตท่าน และปกป้องกำลังสาธารณสุขที่เกินกำลัง ไม่ไหวแล้วจริงๆ เพราะด้านที่เลวที่สุด คือติดเชื้อแล้ว

ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม ยกตัวอย่างคนไข้ติดเชื้อตามธรรมชาติภูมิคุ้มกันตกเร็วภายใน 3-6 เดือน บางคนภูมิไม่ขึ้นเลย กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ภูมิต้านทานเป็น “0” จึงต้องฉีดวัคซีนให้ก่อนกลับบ้าน ตอนนี้นักวิจัยออกฟอร์ดเก็บข้อมูล พบว่าภูมิต้านทานจะลดระดับลงครึ่งหนึ่ง ภายใน 3-4 เดือน แต่ยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก WHO ว่าจะต้องฉีดวัคซีนเข็มสามอย่างไร โดยมีเพียง 2 ประเทศ คือ ยูเออี บาเรนห์ ที่ฉีด 2 เข็มแรก เป็นซิโนแวค เข็มสามซิโนฟาร์ม เพราะเขาหาวัคซีนไม่ได้ แม้ว่าตามหลักจะต้องกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนแพลตฟอร์มอื่น

“หลักการตอนนี้คือฉีดเข็มที่ 1-2 ให้ได้ก่อน คนที่ฉีดแอสตราฯ เข็มสองต้องใช้เวลาอีก 3 เดือน อย่าเพิ่งรีบร้อนจองเข็มที่ 3 เพราะท่านจะได้ mRNA รุ่นเก่า ถ้ารอแล้ว เว้นระยะจะได้วัคซีนร่นใหม่ ที่ผลข้างเคียงมีความรุนแรงน้อยลง สำหรับประเทศไทยขณะนี้กำลังเร่งศึกษาวัคซีนเข็มที่ 3 เป็นตัวไหนจึงดีที่สุด ระหว่างแอสตราฯ หรือ mRNA ซึ่งจะรู้ผลภายใน 1 เดือนนี้”ศ.เกียรติคุณ นพ.อุดม กล่าว

สำหรับวัคซีนเข็มที่ 3 จะกระตุ้นให้กับเป้าหมายแรกผู้มีความเสี่ยงสูง สัมผัสหรือรับเชื้อ คือบุคลากรทางการแพทย์ 7 แสนคน กลุ่มที่สองเป็นสูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ ฉีดซิโนแวคเข็มที่ 2 ครบ 3-4 เดือน ต้องกระตุ้นเข็มที่ 3 กรณีไฟเซอร์ยังไม่มา จะกระตุ้นด้วยแอสตราฯ แต่ถ้าไฟเซอร์มาเร็ว ล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดส จะฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ก่อน

กรณีประชาชนทั่วไป มีวัคซีนไฟเซอร์ที่เซ็นจองซื้อ 20 ล้านโดส จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส และโมเดอร์นาของภาคเอกชน ซึ่งกำลังจะมาในไตรมาสที่ 4 แต่อย่าไปลดเกรดซิโนแวค เพราะสามารถลดเจ็บป่วยรุนแรง และลดการตายไม่น้อยไปกว่าแอสตราฯ ที่สำคัญ WHO ยังไม่แนะนำการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อในเข็มที่ 1 และ 2 เพราะหากมีผลเสียเกิดขึ้นจะแยกไม่ออก

“โควิดกลายพันธุ์ตลอด วัคซีนกำลังพัฒนาให้ครอบคลุมสายพันธุ์ต่างๆ คณะกรรมการวัคซีนได้พิจารณาเพื่อเตรียมการสั่งจอง ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย ต่อไปนี้ประชุมทกครั้งให้แถลงทุกครั้ง โดยครั้งต่อไปจะประชุมในวันที่ 9 ก.ค.64 ที่ รพ.ราชวิถี ส่วนการนำเข้าวัคซีนหลักชนิด mRNA ซึ่งเลือกไฟเซอร์เป็นวัคซีนฟรีให้กับประชาชน จะส่งมาให้ในไตรมาสที่ 4”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อิหร่านสงวนท่าที ยังไม่กล่าวหาอิสราเอล
ระทึก เกิดระเบิดขนาดใหญ่ในอิรัก ฐานทัพที่อิหร่านสนับสนุน  คาดเป็นการโจมตีจากสหรัฐฯ
"ธนกร" ขอ กมธ.นิรโทษกรรม ไม่นับความผิด ม.110-ม.112 ชี้กระทบความมั่นคงของชาติ ย้ำชัดสถาบันฯ ไม่เกี่ยวการเมือง
หนุ่มใหญ่ ขับฟอร์จูนเนอร์ ป้ายแดง พุ่งชนประตูรั้วเหล็กทะลุเข้าบ้าน ย่านรามอินทรา ทรัพย์สินเสียหายเพียบ
สุดอาลัย "ทวี ไกรคุปต์" พ่อของ "เอ๋ ปารีณา" เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 85 ปี
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เผยรับมืออากาศร้อนจัด เตือน 28 จว.ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง
ยังเนืองแน่นวันไหลพัทยาถนนทุกสายนักท่องเที่ยวยังแน่น
อย่าไปโทษใคร ศาลไม่ให้ประกันตัว "เจ๊จุก" รวมมาให้ 3 นิ้วชังเจ้า หน้าไหนบ้าง ทิ้งเพื่อนหนีคดีลี้ภัยตปท.
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี และ ศรีราชา ให้การต้อนรับ มิสเตอร์ เจสัน รองกรรมการโรงพยาบาลสมัยใหม่ กวางโจ สาธารณประชาชนจีน นายชนะพล คลังรุ่งเรือง นายกสมาคมการค้า ไทย-เหลียวหนิง พร้อมทั้งโชว์ศักยภาพการให้บริการโรงพยาบาลในเครือ "สมิติเวช"
"ทนายเดชา" ฟันธงหลักฐานมัด "บิ๊กโจ๊ก" เตรียมต่อสู้ในชั้นศาล หักล้างความผิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น