No data was found

มีผลบังคับใช้แล้ว ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การทำแท้ง

กดติดตาม TOP NEWS

ออกประกาศข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์มีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 2 ก.ค.64  ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๘

สำหรับสาระสำคัญ หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ระบุไว้ดังนี้

(๑) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา ๓๐๕ (๑) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นกรณีที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจาก
(ก) ปัญหาสุขภาพทางกายของหญิงตั้งครรภ์ หรือ
(ข) ปัญหาสุขภาพทางจิตของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ อย่างน้อยหนึ่งคน

(๒) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา ๓๐๕ (๒) แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

(ก) ทารกที่คลอดออกมามีความเสี่ยงอย่างมากที่จะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพ อย่างร้ายแรง เช่น มีความพิการอย่างรุนแรง เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างร้ายแรง หรือทุพพลภาพประการอื่นอย่างร้ายแรง
(ข) มีการให้คำปรึกษาแนะน าทางพันธุศาสตร์(genetic counseling) แก่หญิงตั้งครรภ์
(ค) มีการบันทึกผลการตรวจ การให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำทางพันธุศาสตร์ และข้อบ่งชี้ไว้ในเวชระเบียน
(ง) จะต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งคน

(๓) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา ๓๐๕ (๓) แห่งประมวลกฎหมายอาญา หญิงต้องยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนตั้งครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศโดยหญิงอาจให้ข้อเท็จจริงประกอบการยืนยันดังกล่าวได้

(๔) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา ๓๐๕ (๔) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแนะนำส่งต่อตามระบบของสถานพยาบาลโดยไม่ชักช้า

(๕) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา ๓๐๕ (๕) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องมีเอกสารแสดงว่าได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ในกรณีที่ต้องส่งต่อให้แนะนำส่งต่อตามระบบของสถานพยาบาลโดยไม่ชักช้า

ข้อ๕ การยุติการตั้งครรภ์ในหญิงที่อยู่ในสภาวะที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ปกครองดูแล ในกรณีที่ไม่มีผู้ที่จะให้ความยินยอมแทนได้ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือมีผลประโยชน์ขัดกันกับหญิง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจทำการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงได้หากเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของหญิงนั้น

ข้อ๖ การวินิจฉัยอายุครรภ์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ข้อ๗ การยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบังคับนี้ให้กระท าในสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
ข้อ๘ ให้นายกแพทยสภาเป็นผู้รักษาการ และมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี
(๒) ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามมาตรา ๓๐๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓

ทั้งนี้  ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ปลัดก.คลัง" ชี้ความเห็น "ผู้ว่าฯธปท." ไม่มีอะไรใหม่ ไม่กระทบแผน "ดิจิทัล วอลเล็ต"
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ มอบรถเข็นวีลแชร์ แก่สำนักงานจัดหางาน จ.นนทบุรี เติมกำลังใจให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ยากไร้
โซเชียลฟาด "อินฟูล"คนดัง แชร์ทริคใช้แอร์ประหยัดไฟ ไม่ต่างยุค"ลุงตู่"เคยแนะ
งานเข้า “จิรัฏฐ์ ” ส่งทนายเลื่อนเข้าพบตำรวจสน.ประชาชื่น รับทราบข้อหาปลอม สด.43 โดนหมายเรียกครั้งที่ 2 ทันที
เครือข่ายภาคปชช.จังหวัดเพชรบุรี ร่วมมือกรมอุทยานฯ เตรียม “ย้ายลิงเขาวัง” รอบ 2 นำร่องแก้ปัญหาลิงล้นเมือง
ทัพ 'ทุเรียนไทย' เร่งบุกตลาดจีน ปลุกกระแสผู้บริโภคแห่ซื้อ
"บิ๊กโจ๊ก" เชื่อนายกฯ ถูกหลอกเซ็นสั่งย้าย มั่นใจเอาผิดพงส.คดีฟอกเงินเว็บพนัน
สหรัฐ คองเกรสผ่านร่างกม.แบน TikTok แล้ว
"พล.ต.อ.ธนา" เมิน "บิ๊กโจ๊ก" ยื่น ป.ป.ช.เอาผิด ยันทำทุกอย่างตรงไปตรงมา ตามขั้นตอนกม.
สหรัฐ คองเกรสผ่านร่างกม. 95 พันล้านเหรียญช่วยยูเครน-อิสราเอล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น