No data was found

หมอชลน่าน วอนทบทวนบรรจุร่างแก้ไขรธน.มาตรา 256

กดติดตาม TOP NEWS

รัฐสภา 23 มิ.ย.- “หมอชลน่าน” เปิดฉากหารือ “ชวน” จี้ทบทวนบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ว่าด้วยวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 15/1 หวังเป็นสารตั้งต้นที่ดี มีช่องทางทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  “ชวน” ย้ำเหตุผล หากรับญัตติเท่ากับไม่เคารพคำวินิจฉัยศาล ด้าน“วิรัช” ปัดเร่งแก้รธน. เพราะต้องการยุบสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.52 น. ได้มีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ…. รวม 13 ฉบับ โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระมีส.ส.ขอหารือและชี้แจง โดยเฉพาะส.ส.พรรคฝ่ายค้านขอหารือกับนายชวน เพื่อขอให้ทบทวนการไม่บรรจุญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคฝ่ายค้าน ว่าด้วยการแก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวดใหม่ ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไว้ในระเบียบวาระประชุมรัฐสภ

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ได้หารือก่อนเริ่มการประชุมว่า กรณีที่ประธานรัฐสภาไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ว่าด้วยวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 15/1 ว่าด้วยวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยให้เหตุผลทำเป็นหนังสือส่งไปที่พรรคเพื่อไทย มีใจความสรุปว่าคณะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของประธานรัฐสภาให้ความเห็นข้อเสนอว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ของพรรคเพื่อไทย และการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 15/1 นั้น เมื่อมีการเพิ่มหมวด 15/1 มีการวินิจฉัยว่าเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมจึงไม่บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยเห็นว่าเรื่องนี้ต้องชัดเจนในข้อวินิจฉัย จึงทำหนังสือถึงประธานรัฐสภาว่า ขอให้ทบทวนความเห็นและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ว่าด้วยวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเพิ่มเติมหมวด 15/1 ที่พรรคเพื่อไทยเสนอ การเสนอญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้านเป็นเพียงกระบวนการหนึ่ง ที่เปิดช่องให้รัฐธรรมนูญ มีหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อรองรับการจัดทำรัฐธรรรมนูญฉบับใหม่ เพราะหากออกเสียงประชามติแล้วประชาชนเห็นชอบให้ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่กระบวนการต่อไปต้องเปิดช่องที่รัฐธรรมนูญให้มีบทรองรับให้รัฐสภาทำได้ หากไม่บรรจุญัตติดังกล่าว เท่ากับห้ามจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสิ้นเชิง อีกทั้งการเสนอดังกล่าวหากมีผลจะเป็นเพียงการแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และไม่มีผลให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ต้องถูกยกเลิก และไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของฝ่ายกฎหมายสภาฯ ที่ตีความไปเกินกว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

“การเสนอญัตติเพื่อเปิดช่องให้รัฐธรรมนูญ มีหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อรองรับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่วนสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถือว่าต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรก ไม่ทราบว่ามีกระบวนการ หรือใครเป็นผู้จัดทำ และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร หรือเวลาเท่าไร ครั้งที่สอง คือ ประชามติเพื่อทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ ครั้งที่สาม หลังจากที่ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ ต้องใช้งบประมาณครั้งละ 3,000 ล้านบาท ขอให้ทบทวนเพราะหลักการของพรรคเพื่อไทยไม่ขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และควรให้รัฐสภาวินิจฉัยไม่ใช่ประธานรัฐสภาวินิจฉัยเอง ที่ทำให้สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ไม่ได้” นพ.ชลน่าน กล่าว

ด้านนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นสอบถามถึงความชัดเจนกรณีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนที่กำลังมีการรณรงค์ล่ารายชื่อของกลุ่ม Re-Solution “ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์”ว่า ขณะนี้ได้ 4 หมื่นรายชื่อเเล้ว อยากสอบถามวิธีปฎิบัติว่า หากภาคประชาชนล่ารายชื่อได้ครบ 5 หมื่นรายชื่อ ก่อนที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจบวาระ 3 ร่างภาคประชาชนจะถูกพิจารณาอย่างไร จะนำมาพิจารณาพร้อมกันได้ไหม หรือดำเนินการอย่างไร

จากนั้นนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า ประเด็นการที่บอกว่าพรรคพลังประชารัฐต้องรีบแก้ไข เพราะต้องการยุบสภาฯ เรื่องดังกล่าวนี้ไม่เป็นความจริง สิ่งที่เราทำคือเมื่อรู้ว่าไม่สามารถแก้มาตรา 256 และสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินออกมาคือให้แก้เป็นรายมาตราในบางประเด็นที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการทำประชามติ ฉะนั้นเราเห็นพรรคร่วมฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาลได้มีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 16 มิ.ย. และเป็นปรากฏการณ์ที่ว่ายังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีมากร่างเท่ากับที่เรากำลังจะพิจารณา ทางพรรคพลังประชารัฐไม่ได้เร่งรีบ เนื้อหาทั้งหมดก็มาจากการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นผู้ดำเนินการ แล้วจากส่วนหนึ่งก็มาจากจิตวิญญาณของประชาชนเช่นเดียวกัน ซึ่งเขาได้สะท้อนบางสิ่งบางอย่างให้เห็นว่าสิ่งที่เราทำมาจะผ่านหรือไม่ผ่านก็เป็นกระบวนการของรัฐสภา ไม่ใช่กระบวนการคนใดคนหนึ่ง

นายชวน กล่าวชี้แจงว่า กระบวนการพิจารณาญัตติจะมีเจ้าหน้าที่รัฐสภาดูแลอยู่แล้ว ไม่ต้องผ่านฝ่ายที่ปรึกษากฎหมายรัฐสภา ยกเว้นเรื่องสำคัญจะมีที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายช่วยพิจารณา ญัตติดังกล่าวนี้เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นว่า บรรจุไม่ได้จึงส่งให้ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายรัฐสภาช่วยพิจารณาก็มีความเห็นตรงกันว่าบรรจุไม่ได้ จากนั้นส่งมาให้ตนพิจารณา ตนก็พิจารณาด้วยความรอบคอบ เหตุที่ไม่บรรจุญัตติดังกล่าว เพราะมีมาตรา 15/1 เรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จากการตรวจดูพบว่า หลักการและเหตุผลของญัตตินี้ มีสาระสำคัญเหมือนร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไปแล้วว่า มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 และให้ไปทำประชามติก่อนว่า ประชาชนประสงค์ให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ ดังนั้นจึงมีความเห็นไม่บรรจุ ถ้าบรรจุแสดงว่าไม่ยอมรับคำวินิจฉัย

“2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครมาสั่งประธานได้ นายกฯ ไม่เคยมายุ่ง ขอให้มั่นใจว่า การวินิจฉัยเป็นไปด้วยความสุจริต ยึดมั่นกฎหมาย ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ส่วนร่างภาคประชาชน ถ้าส่งมาเมื่อใดก็จะพิจารณาและบรรจุให้ทันที ไม่มีลับลมคมใน ถ้าไปท้าทายคำวินิจฉัย ด้วยการบรรจุญัตติ ก็เท่ากับตนทำผิดรัฐธรรมนูญ” นายชวน กล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นักท่องเที่ยวจีน" ครองแชมป์ "เที่ยวไทย" มากสุดช่วงสงกรานต์ปี 2567
"ก้าวไกล" ฉุนทำประชามติแก้รธน. ไม่พ่วงคำถามแก้หมวด 1 และ 2 แตะสถาบันอ้างหลักการเอาประชาชนบังหน้าควรแก้ได้ทั้งหมด
"แม่ทัพภาค 1" จัดกิจกรรม ‘จิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ’ เขตดินแดง เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
สหรัฐ ไล่จับจระเข้โผล่นอนเล่นสนามบิน
'นักท่องเที่ยวจีน' ครองแชมป์ 'เที่ยวไทย' มากสุดช่วงสงกรานต์
"ธปท." ไม่ขัดข้องรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นศก. ย้ำจุดยืนแจก "ดิจิทัลวอลเล็ต" ต้องใช้งบคุณค่า ทำแบบเจาะจง
กรีซ ฝุ่นควันหม่นทึบ ย้อมฟ้าเป็นสีส้มในกรุงเอเธนส์
ฟิลิปปินส์เผยยอดดับจาก ‘อากาศร้อนจัด’ แตะ 6 ราย
ผู้ให้เช่ารถพยาบาล "โอด" ถูกบริษัทซัพคอนแทรคชื่อดังย่านบ่อวินเบี้ยวจ่ายค่าเช่ารถพยาบาลกว่า 2 แสน
ที่ปรึกษารมว.พม. ห่วง "เด็ก 8 ขวบ เชื่อมจิต" ชี้ครอบครัวอาจเข้าข่ายยินยอมให้ประพฤติไม่เหมาะสม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น