No data was found

ประกาศแล้ว ไม่สวมแมสป้องโควิด-19 โดนเปรียบเทียบปรับทันที

กดติดตาม TOP NEWS

มีผลบังคับใช้ ออกคำสั่งเปรียบเทียบปรับ ผิดครั้งแรกปรับไม่เกินพันบาท ผิดซ้ำซากสามครั้ง ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 64   ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิดกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19
พ.ศ. ๒๕๖๔

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019
(COVID-19) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางในทุกพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและการด ารงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนและต่อระบบการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ ในการแก้ไขสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ได้มีการอาศัยอ านาจของพระราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๔๘ มาใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวด้วย

โดยได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ที่สำคัญ คือการให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และจำกัดวงในการระบาดของโรคโควิด 19

ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ออกคำสั่งห้ามผู้ใดกระทำการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะโดยการไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคโควิด 19 แพร่ออกไป แล้วผู้นั้นฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร

จึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความผิดกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่สั่งห้ามผู้ใดกระทำการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะโดยการไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคโควิด 19แพร่ออกไป ไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 สงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร หรือได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว เห็นควรให้ยกเลิกระเบียบนี้ไปในคราวเดียวกันด้วย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ การเปรียบเทียบความผิดกรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 พ.ศ. ๒๕๖๔”

ข้อ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ๓ การดำเนินการตามระเบียบนี้ใช้บังคับเฉพาะกรณีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ที่สั่งห้ามผู้ใดกระทำการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะโดยการไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคโควิด 19 แพร่ออกไป โดยมิให้นำระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓มาใช้บังคับ

ข้อ๔ ในระเบียบนี้ “ความผิด” หมายความว่า ความผิดตามมาตรา ๕๑ ฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๖) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่สั่งห้ามผู้ใดกระทำการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะโดยการไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคโควิด 19 แพร่ออกไป

“การเปรียบเทียบ” หมายความว่า การเปรียบเทียบความผิดตามระเบียบนี้ “ผู้ต้องหา” หมายความว่า ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดตามระเบียบนี้ “ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ” หมายความว่า อธิบดีกรมควบคุมโรคหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมควบคุมโรคมอบหมายให้มีอำนาจเปรียบเทียบบรรดาความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘

ข้อ ๕ เมื่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้แจ้งให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น หรือปรากฏหลักฐานต่อผู้มีอำนาจเปรียบเทียบว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบดำเนินการ ดังนี้

(๑) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรให้มีการเปรียบเทียบให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเรียกหรือแจ้งให้ผู้ต้องหามารับทราบข้อหาในการกระทำความผิด วัน เวลาและสถานที่เกิดเหตุ พร้อมชี้แจงให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงความผิดที่เกิดขึ้นว่าเป็นคดีที่สามารถดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยให้ดำเนินการ ดังนี้

(๑.๑) กรณีที่ผู้ต้องหารับสารภาพและยินยอมให้มีการเปรียบเทียบ ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดจำนวนเงินค่าปรับที่ผู้ต้องหาพึงชำระตามอัตราในบัญชีท้ายระเบียบนี้และให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ ต่อไป

(๑.๒) กรณีที่ผู้ต้องหาไม่ยินยอมให้มีการเปรียบเทียบ หรือผู้ต้องหายินยอมให้มีการเปรียบเทียบแต่ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบส่งเรื่องให้แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวน ดำเนินคดีต่อไป เว้นแต่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบในคดีนั้นเป็นพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีต่อไป โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

(๒) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรให้มีการเปรียบเทียบเนื่องจากเป็นการกระทำความผิดซ้ำซากหรือเป็นการกระทำความผิดติดนิสัย หรือการกระทำความผิดนั้นก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตหรือร่างกายของประชาชน หรือเป็นการกระทำที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยสาธารณะหรือประโยชน์สาธารณะ ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบส่งเรื่องให้แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป

เว้นแต่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบในคดีนั้นเป็นพนักงานสอบสวน ให้ดำเนินคดีต่อไปโดยไม่ต้องส่งเรื่องให้แก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

(๓) ในกรณีที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดให้สั่งยุติเรื่อง ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้แจ้งต่อผู้มีอำนาจเปรียบเทียบว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อดำเนินการตามที่เห็นสมควรต่อไป

ข้อ๖ ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบดำเนินการเปรียบเทียบให้แล้วเสร็จภายในที่ตั้งสำนักงานปกติของหน่วยงานที่ตนสังกัด เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องมีการเปรียบเทียบให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบดำเนินการเปรียบเทียบนอกที่ตั้งสำนักงานปกติของหน่วยงานที่ตนสังกัดได้ โดยให้ใช้สถานที่ของหน่วยงานราชการอื่นหรือสถานที่อื่นเป็นสถานที่ดำเนินการเปรียบเทียบทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่ด้วย

ข้อ๗ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินค่าปรับในการเปรียบเทียบส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ให้ดำเนินการ ดังนี้

(๑) กรณีผู้ต้องหาชำระเงินค่าปรับทันที เมื่อผู้ต้องหาชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ ผู้ที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบมอบหมาย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบงานการเงินหรือการคลัง แล้วแต่กรณี ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ต้องหา

(๒) กรณีผู้ต้องหาไม่ชำระเงินค่าปรับทันที ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบออกใบนำส่งการชำระเงิน ค่าปรับเพื่อให้ผู้ต้องหาใช้เป็นหลักฐานในการไปชำระเงินค่าปรับที่หน่วยงานซึ่งผู้มีอำนาจเปรียบเทียบสังกัดให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ

โดยใช้แบบ คว. ๐๑ ท้ายระเบียบนี้ หรือใช้แบบเอกสารอื่นใดตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเห็นสมควร เมื่อผู้ต้องหาชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ ผู้ที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบมอบหมาย หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบงานการเงินหรือการคลัง แล้วแต่กรณี ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ต้องหา ใบเสร็จรับเงินที่ต้องออกให้แก่ผู้ต้องหาตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามแบบ คว.๐๒ ท้ายระเบียบนี้ หรือตามแบบเอกสารอื่นใดที่หน่วยงานซึ่งผู้มีอำนาจเปรียบเทียบสังกัดอยู่กำหนด

โดยให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญที่ตอนล่างของใบเสร็จรับเงินและที่สำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นด้วยเพื่อแสดงว่าผู้ต้องหาได้รับทราบและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว พร้อมทั้งส่งมอบใบเสร็จรับเงินต้นฉบับให้แก่ผู้ต้องหา และให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

การหักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่กรมควบคุมโรคประกาศกำหนด ทั้งนี้ ภายใต้ข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าปรับก่อนน าส่งคลัง รวมถึงประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ข้อ๘ ให้ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบหรือผู้ที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบมอบหมาย ทั้งในเขต กรุงเทพมหานคร และในจังหวัดอื่น ๆ จัดทำรายงานการเปรียบเทียบตามแบบ คว.๐๓ ท้ายระเบียบนี้ เสนอกรมควบคุมโรคทุกเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี ให้กรมควบคุมโรครวบรวมรายงานการเปรียบเทียบเพื่อจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาจำนวนเงินค่าปรับ จำนวนเงินส่งคลัง พร้อมรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปัญหาอุปสรรคหรือข้อเสนอแนะ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติต่อไป

ข้อ ๙ ให้อธิบดีกรมควบคุมโรครักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ การดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้อธิบดีกรมควบคุมโรคเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด และให้คำสั่งหรือข้อวินิจฉัยของอธิบดีกรมควบคุมโรคถือเป็นที่สุด

ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

อนุทิน ชาญวีรกูล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ประธานกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ระทึก!ไฟไหม้เรือนำเที่ยวร้านอาหาร กลางแม่น้ำเจ้าพระยา หวิดเกิดโศกนาฏกรรมหมู่
ผวาหนัก "นายกเทศบาลบ้านธาตุ" บุกลานยางพารา กระหน่ำยิงหมดแม็ก ทำคนในบ้านหนีตายวุ่น
ระทึก ไฟไหม้ "เรือนำเที่ยวร้านอาหาร" กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เสียหายทั้งลำ
"พท." ลั่นเลิกเป็น สส.บ้านนอก "อุ๊งอิ๊ง" หนุนเต็มที่ยกเครื่องานสภาปรับลุคใหม่ให้ทันสมัยสู้พรรคคู่แข่ง
รทสช.แย้มข่าวปรับครม. ยังไม่ฟันธง “สุชาติ” หวนนั่งรมว.แรงงาน
ปรับครม. "ภูมิใจไทย" นิ่งสนิทโควตาเดิมทุกเก้าอี้ "นายกฯ" แจงสนิทบิ๊กเหล่าทัพสื่อโยงไปเองควบ "กลาโหม"
แวะตลาดด่วน พรุ่งนี้ "ไข่ไก่" ขึ้นราคา 20 สตางค์ 
สหรัฐเชื่อว่าอิสราเอลจะไม่โจมตีอิหร่านโดยตรง
ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล 16 เมษายน 2567
สงกรานต์ สอยดาวยังรักษามาตรฐาน ความสนุก คนแน่นถนน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น