No data was found

นายกฯ พอใจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

กดติดตาม TOP NEWS

ทำเนียบฯ 9 ธ.ค.-โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ พอใจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้น ผลจากการเปิดประเทศ ผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจ และมาตรการรัฐ ขณะที่ เอกชนมั่นใจเศรษฐกิจไทยปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่อง แม้พบการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พอใจภาพรวมเศรษฐกิจไทยหลังเปิดประเทศดีขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลมาจากความสำเร็จของรัฐบาลในการผ่อนคลายกิจการทางเศรษฐกิจ โดยที่ยังสามารถควบคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไทยต่ำลง ได้รับเสียงตอบรับจากผู้ประกอบการ ภาคเอกชน โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับ 85.4 จากระดับ 82.1 ในเดือนตุลาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เป็นผลมาจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างค่อยเป็นค่อยไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง เช่น การปรับลดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ยกเลิกมาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) รวมถึงการอนุญาตให้สถานที่หรือกิจการบางประเภทสามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้มาตรการ Covid Free Setting อาทิ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สถานเสริมความงาม สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งกำหนดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กระบี่ พังงา และภูเก็ต รองรับการเปิดประเทศวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ทำให้ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น อุปสงค์ในประเทศก็ทยอยฟื้นตัวจากคำสั่งซื้อและยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและเครื่องใช้ในบ้าน รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและยา การส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ จีน อาเซียน และอินเดีย เป็นต้น ทั้งนี้ มุมมองภาคเอกชน โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย ยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยมีศักยภาพที่จะเติบโตดีขึ้นในปี 2565 แม้การระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3 – 4.5% สอดคล้องกับ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ที่ได้ประเมินสถานการณ์หลังพบผู้ติดเชื้อโอไมครอน ไม่กระทบต่อบรรยากาศเศรษฐกิจในระยะสั้นและยังมั่นใจ การส่งออกปี 65 คาดว่าขยายตัวได้ถึง 5-8 %

นายธนกร กล่าวว่า เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้โดยไม่สะดุดภายใต้การเดินหน้ามาตรการคู่ขนานควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 และเดินหน้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยยอดส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.64) ขยายตัวที่ 15.65% มูลค่า 2.2 แสนล้านดอลลาร์ และในปี 64 ทั้งปี อาจเติบโตได้ถึง 15% ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังเร่งเดินหน้ามาตรการระยะสั้น คือ พยุงภาคเศรษฐกิจที่เปราะบาง สร้างการจ้างงาน เพิ่มกำลังซื้อในระดับครัวเรือน ผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการระยะปานกลางและระยะยาวเน้นส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการสมัยใหม่ ดึงดูดชาวต่างประเทศที่มีศีกยภาพสูง ขจัดอุปสรรคกฎระเบียบที่ล้าสมัย นายกรัฐมนตรีขอเพียงคนไทยไม่หวั่นวิตกเกินไป และปฏิบัติตนเองได้อย่างถูกต้องปลอดภัย เราก็สามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ส่อวุ่นยืดเยื้อ เพื่อนแรงงานรวมตัวปิดล้อมพื้นที่ หลังเครนถล่มทำ 7 ชีวิตดับ เรียกเยียวยาศพละ 5 ล้าน
"ก.วัฒนธรรม" จัดสงกรานต์ปี 67 สุดยิ่งใหญ่ 5 ภูมิภาค สมเป็น “มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ”
เจาะใจครูไทย ขอบคุณรัฐบาล อนุมัติงบฯจ้างภารโรง แบ่งเบาภาระคืนความสุขโรงเรียน
ชาวบ้าน 16 ครัวเรือนขวางเจ้าอาวาสวัด สั่งถมดินสูงรอบบ้านชาวบ้าน อ้างเป็นเขต ธรณีสงฆ์
อาหารเป็นพิษจากกรด บงเครคิก พบครั้งแรกในไต้หวัน
เครนถล่ม ในโรงงานปลวกแดง จ.ระยอง ทับคนงาน เสียชีวิต บาดเจ็บเพียบ จนท.เร่งช่วยเหลือด่วน
“นายกฯ” ย้ำ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ไร้ทุจริต ปชช.ตรวจสอบได้ รับบินตปท.บ่อย เจอไอเดียดี นำปรับใช้พัฒนาประเทศไทย
ตำรวจไซเบอร์ บุกทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีนรายใหญ่ ลักลอบตั้งฐานในไทย พบเหยื่อเพียบ
เช็กลิสต์สหายเสื้อแดงลี้ภัยต่างแดน จ่อกลับไทยมาสู้คดี จับตาก๊วน 3 นิ้วติดคดี 112 เลิกหนีหัวซุกหัวซุนต่างแดนตามรอย "จักรภพ" โมเดล
จีน ก๋วยเตี๋ยวหอยทาก “หลัวซือเฝิ่น” กับความคลั่งไคล้ระดับชาติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น